เรื่องโดย
อาจารย์ไกรกิติ ทิพกนก ผู้อำนวยการสถาบัน KCT Academy
เมื่อใกล้วันที่มาตรการปลดล็อดเข้ามา ได้ทำให้ผู้บริหารหลายท่านเริ่มมีคำถามว่า
“บริษัทเราต้องการจะให้พนักงานคนไหนกลับมา แล้วพวกเขาควรกลับมาทำงานเมื่อไหร่และภายใต้เงื่อนไขใด?”
คำแนะนำเหล่านี้ย่อมแตกต่างไป มันไม่จำกัดแค่เพียงพวกเขาทำในตำแหน่งงานอะไร มีความจำเป็นที่ต้องมาทำงานที่ออฟิตหรือไม่? แต่มันเกี่ยวข้องกับสุขภาพของเขา เป็นสำคัญ!
ซึ่งแน่นอนว่าหากองค์กรท่านมีพนักงาน บางท่านที่จู่ๆก็มีไข้หนาวสั่น ไอ หายใจถี่หรือเจ็บคอ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า พวกเขากำลังไม่สบายด้วยไข้หวัดธรรมดา หรือ COVID-19 เพราะมาถึงตอนนี้เราต่างเรียนรู้แล้วว่าอาการของ COVID-19 ไม่อาจยืนยัน ด้วยความเจ็บป่วย ในขณะเดียวกันสมมติว่าคุณมีพนักงานที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ COVID-19 ต่อมาพวกเขาหายจากอาการป่วย คุณสามารถอนุญาตให้พวกเขากลับมาทำงานได้เลยหรือไม่
และนี่คือคำแนะนำส่วนตัว ที่ผมใช้ภายในบริษัท เพื่อจะทำให้พนักงานของพวกเราปลอดภัยจาก COVIDS-19 ให้มากที่สุด และที่สำคัญเพื่อป้องกันบริษัทไม่ให้ต้องหยุดการดำเนินการอีกครั้งเนื่องจากพบการระบาดระหว่างบุคลลากรบริษัทเอง ซึ่งมาตรการเหล่านั้น ได้แก่;
- องค์กรควรเรียกเจ้าหน้าที่และนำพนักงานที่ไม่มีอาการ COVID-19 กลับมาทำงานก่อนในช่วงแรก หลังจากการ Lockdown เป็นกลุ่มแรก
- จากนั้นองค์กรควรเรียกเจ้าหน้าที่และพนักงานที่บริษัทให้หยุดงาน / เลิกจ้างชั่วคราวไป แล้วพบว่าพวกเขาเหล่านี้ไม่มีอาการป่วย COVID-19 แล้วพิจารณาเรียกพวกเขากลับมาทำงานเป็นกลุ่มที่สอง
- ส่วนพนักงานที่ได้รับการยืนยัน (โดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์) ว่าป่วยหนักหรือปานกลางด้วย COVID-19 แต่พนักงานเหล่านี้เป็นคนที่กักตัวเองและใช้รักษาตัวเองที่บ้านและไม่ต้องเข้าโรงพยาบาล ตามแนวทางของ การรักษา คุณควรยึดปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์ที่ว่า พวกเขาควรจะสามารถกลับไปทำงานได้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ อย่างน้อย 3 วันหลังหายจากอาการป่วย พนักงานต้องไม่มีไข้สูงผิดปกติเป็นเวลา 72 ชั่วโมง และไม่ต้องใช้ยาลดไข้ (แอสไพริน, อะซิตามิโนเฟนหรือไอบูโปรเฟน) แล้ว เป็นกลุ่มถัดมา
- สำหรับพนักงานที่ได้รับการยืนยัน (โดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์) ว่าป่วยหนักด้วย COVID-19 และได้การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คุณควรทำการทดสอบอย่างเข้มงวดก่อนที่จะให้พนักงานเหล่านี้กลับมาทำงาน
ทางที่ดีบริษัทควรหารือกับแพทย์ที่ดูแลสุขภาพส่วนบุคคลของพวกเขาเพื่อประเมินผลก่อนตัดสินใจ ว่าพวกเขาพร้อมสำหรับการกลับมาทำงานจริง และไม่มีข้อจำกัดมากจนทำให้การทำงานร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานไม่ราบรื่น
- กรณีเมื่อเปิดแล้วพบว่า พนักงานที่เรียกลับมาทำงานได้ไม่เพียงพอสำหรับการทำงาน ผมแนะนำว่าคุณควรกลับไปทบทวนเรื่องการเรียกพนักงานที่บริษัท เลิกจ้างไป เนื่องจากธุรกิจหยุกชะงักลงและไม่ได้ทำผิดกฎใดๆของบริษัท แล้วพบว่าพวกเขาเหล่านี้ไม่มีอาการป่วย COVID-19 กลับมาทำงานอีกครั้ง เพราะอย่างน้อยคนกลุ่มนี้ก็มีประสบการณ์ทำงานกับองค์กรอยู่แล้ว ซึ่งอาจเป็นประโยชน์กว่าการรับพนักงานใหม่ที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้อีกสามถึงสี่เดือนจึงจะทำงานได้
ขณะเดียวกัน ท่านผู้บริหารควรวางมาตรการและกำหนดวิธีปฏิบัติงานที่ปลอดภัยพร้อมคู่มือการทำงาน ตลอดจนข้อปฏิบัติเมื่อพวกเขาต้องอยู่บ้าน หรือเดินทางไปในที่สาธารณะในช่วงสถานการณ์ COVID-19 อาทิเช่น การสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลอื่น ๆ (PPE) หากต้องมีการทำงานกับคนทั่วไปในจุดที่มีความเสี่ยง เป็นต้น พร้อมกับมีการเก็บบันทึกข้อมูลสุขภาพทั้งหมดของพนักงานที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ แต่คุณต้องเก็บรักษาไว้เป็นความลับตามกฎหมาย และมีการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการแผ่เชื้อ เช่น
- จำกัด การติดต่อ พยายามจัดพื้นที่ให้แต่ละคนอยู่ห่างออกไป 2 เมตร
- มีกฎให้พวกเขาสวมหน้ากากหรือเฟซชิลด์เพื่อ จำกัด การแพร่กระจายของสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ
- การเตรียมอุปกรณ์และน้ำยาแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อทำความสะอาด
- พนักงานมีอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว รวมถึงวัสดุเครื่องเขียนของตนเองที่พร้อมสำหรับการทำงาน
- รักษาความสะอาดของอาคารและผิวสัมผัสต่างๆ ภายในบริษัท
นอกจากนี้ท่านอาจพิจารณาใช้มาตการการวัดอุณหภูมิร่างกายของพนักงานก่อนที่พวกเขาจะเข้าไปในอาคาร แต่จำไว้ว่าผู้ป่วย COVID-19 ไม่มีไข้ทุกคน ดังนั้นบริษัทควรกำหนดให้พนักงานคนใดที่เจ็บป่วยในระหว่างวันทำงานสามารถลากลับบ้านทันที
ผมแนะนำว่าท่านผู้บริหารควรพิจารณาพนักงานแต่ละคนเหล่านี้เป็นกรณี ๆ ไป แม้ว่าบุคคลากรเราจะมีการทดสอบสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ ว่าผ่านการอนุมัติให้กลับมารทำงาน แต่ต้องยอมรับว่าในภาวะที่เราอาจไม่สามารถป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสได้ในทุกๆกรณี ความเสี่ยงของการแพร่เชื้อยังมีอยู่เสมอทั้งในที่ทำงาน ที่บ้าน หรือแม้แต่ระหว่างการเดินทาง องค์กรอาจจำเป็นที่ต้องพิจารณาทำงานร่วมกับคลินิกหรือรพ.ในท้องถิ่นหรือผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อดูแลพนักงาน
ท่านผู้บริหารบางรายอาจได้รับแรงกดดันจากการต่อต้านของพนักงานบางรายที่ไม่พอใจกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมากกว่าปกติ แต่การผิดใจกับพนักงานเพราะเห็นแก่ความปลอดภัยในสุขภาพของพวกเขานั้นมันคุ้มค่าไม่เฉพาะแต่กับองค์กรและตัวพวกเขาเอง แต่ยังรวมถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพของสังคมส่วนรวมเช่นกัน