
HR ยุคใหม่ เปลี่ยนจาก "ตั้งรับ" เป็น "เชิงรุก"
HR ที่ทำงานสไตล์ “ตั้งรับ” จะเหนื่อย และ หนัก เพราะ “รับแต่ปัญหา”
.
HR ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการหาพนักงานทดแทนคนลาออก จนแทบไม่มีเวลาทำงานด้านการพัฒนา (HRD)
.
ทั้งๆ ที่ HRD เป็นงานที่สร้างคุณค่าให้แก่องค์กรและให้แก่ทีม HR เป็นอย่างมาก
.
แน่นอนว่าเหตุผลการลาออกของพนักงานมีทั้งเหตุผลเรื่องส่วนตัว และเหตุผลที่เกี่ยวกับองค์กร
.
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตัวงาน หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน บรรยากาศการทำงาน และค่าตอบแทน
.
หากเป็นเรื่องส่วนตัวก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจลาออกได้
.
แต่ส่วนใหญ่แล้วการตัดสินใจลาออก เกิดจากเหตุผลที่เกี่ยวกับองค์กร
.
ซึ่ง HR สามารถรู้ล่วงหน้า คาดเดาเหตุการณ์ และบริหารจัดการป้องกัน แก้ไข หรือบรรเทาปัญหาต่างๆ ได้ หาก HR ทำงานเชิงรุก
.
ในบทบาทของ **HRBP**
.
.
HRBP ต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้บริหารของทุกหน่วยงาน
.
คุยกันถึงสารทุกข์สุขดิบของพนักงาน ปัญหาต่างๆ ที่อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานลดลง หรือทำให้ขวัญกำลังใจของพนักงานตกต่ำลง
.
HRBP กับผู้บริหารของหน่วยงานต้องปรึกษาหารือกันเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
.
ดีกว่าปล่อยให้พนักงานคนแล้วคนเล่าเจอกับปัญหาซ้ำๆ เดิมๆ
สุดท้ายก็ลาออก
HR ก็หาใหม่
หน่วยงานก็สอนคนใหม่
ไปเรื่อยๆ…
ผลงานไม่ก้าวหน้า
เป็นวงจรที่ไร้คุณค่าอยู่ในองค์กร
.
.
ถึงเวลาแล้วที่ HR ต้องเปลี่ยนสไตล์การทำงานจากตั้งรับ เป็น “HRBP เชิงรุก”
.
ใช้พลังและใช้เวลาไปกับการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรให้มากขึ้น
.
เริ่มจาก วางแผนพบปะพูดคุยกับผู้บริหารของทุกหน่วยงาน
.
ไม่ต้องใช้เวลาเยอะ ไม่ต้องเป็นทางการ
.
แต่ต้องทำอย่างอย่างสม่ำเสมอ และทำให้ครบทุกหน่วยงานในทุกเดือน
.
แล้วปัญหาต่างๆ จะค่อยๆ คลี่คลายลง
.
และ HR จะเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารคนให้กับผู้บริหารของทุกหน่วยงาน
.
ตรงตามบทบาทของการเป็น Business Partner
Post Views: 225