โดย
ผศ.ดร.รัฐวุฒิ รู้แทนคุณ
วิทยากร,ที่ปรึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัย
ผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาหลักสูตร สถาบัน KCT Academy
ที่มาและความสำคัญของการฝึกอบรม
แนวคิดการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย W.Edwards Deming เพื่อทำการปรับปรุงคุณภาพการผลิตสินค้าและบริการ แต่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายในช่วงปลายปี 1940 และประเทศญี่ปุ่นได้นำการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวมไปใช้ในการผลิต โดยเน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
การบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม (TQM) หมายถึง ระบบบริหารจัดการคุณภาพที่เน้นการทำงานร่วมกันของทุกคนในองค์กร โดยมุ่งเน้นผลกำไรในระยะยาวและการสร้างความพึงพอใจของลูกค้ามากที่สุด มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้ภาวการณ์ แข่งขันที่รุนแรง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
โมเดลแนวความคิด TQM ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยคือโมเดลที่ปรับปรุงมาจาก Kano’s House ซึ่งประกอบด้วยสามเสาหลักคือ Concept, Techniques, and Promotion Vehicle เพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายของธุรกิจคือความพึงพอใจของลูกค้าและผลกำไรต่อไป ทั้งนี้ แต่ละเสาหลักของ TQM มีหลักการ รายละเอียดและเครื่องมืออยู่ค่อนข้างมาก หลักสูตรนี้จึงออกแบบให้ผู้อบรมเห็นภาพรวม มีความเข้าใจในหลักการ TQM อย่างแท้จริงก่อน หลังจากนั้นจึงลงรายละเอียดของเครื่องมือในแต่ละเสา โดยบรรยายและแสดงตัวอย่างให้เห็นถึงหลักการและเครื่องมือแต่ละอย่างที่สำคัญเพื่อสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานได้จริง
Total Quality Mangement Model
Kaizen
Kaizen มีหลักการง่ายๆ 3 อย่างด้วยกันซึ่งคือ เลิก ลด และ เปลี่ยน พูดง่ายๆ ก็คือ Kaizen คือการลดหรือยกเลิกขั้นตอนส่วนเกินนั้นเอง การลดหรือยกเลิกขั้นตอนส่วนเกินในกระบวนการทำงานที่ไม่สร้าง value ให้กับธุรกิจสามารถทำให้ประหยัดเวลาอันมีค่าและะประหยัดต้นทุนได้เช่นกัน ในส่วนของการเพิ่มผลิตภาพ(Productivity) เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกองค์กรควรจะทำความเข้าใจ เพราะจะช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน และดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ระบบที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพในองค์กรมีมากมาย องค์กรจะต้องเลือกประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับลักษณะของการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กรของตนเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ ลดความสูญเสีย มีต้นทุนในการดำเนินงานที่เหมาะสม และ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันเวลา
วัตถุประสงค์
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจถึงภาพรวมของหลักการ ของ TQM
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจเสาที่ 1 ของ TQM (Concept) และการนำไปใช้
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจเสาที่ 2 ของ TQM (Concept) และการนำไปใช้
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจเสาที่ 3 ของ TQM (Concept) และการนำไปใช้
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจแนวคิด หลักการ และแนวทางการทำไคเซ็น
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจถึงการวางระบบบริหารไคเซ็นผ่านและกรณีศึกษา
วิธีการสอน-จุดเน้น
ลักษณะของการอบรมเป็นการบรรยายถึง หลักการ/เครื่องมือ/ตัวอย่างการนำไปใช้จริง/ปัญหาสำคัญและแนวทางป้องกันแก้ไข ในทุกส่วนของ TQM และ ไคเซ็นโดยเจาะลงไปในรายละเอียดให้เห็นภาพหลักการของเครื่องมือแต่ละอย่าง ให้ผู้อบรมมีพื้นฐานความข้าใจที่แน่น เพื่อนำไปใช้จริงได้อย่างถูกหลัก นอกจากนี้ยังยกตัวอย่างปัญหาที่สำคัญในแต่ละส่วนที่มาจากประสบการณ์จริงในโรงงานของวิทยากรซึ่งมีพื้นฐานเป็นวิศวกรทำให้เข้าใจผู้เรียนได้อย่างถ่องแท้ หลักสูตรเหมาะสำหรับผู้บริหารระดับต้นถึงระดับกลาง และผู้ที่กำลังจะก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารที่การทำงานเกียวข้องกับการขับเคลื่อนระบบ TQM และ ไคเซ็น
หัวข้อการฝึกอบรม วันที่ 1
Session | ช่วงเวลา | รายละเอียดเนื้อหา |
1 | 9:00-10:15 น. | ภาพรวมของ TQM
· แนวความคิดและหลักการของ TQM ในภาพรวม · รายละเอียดในกรอบของ TQM · หน้าที่ของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ · TQM เปรียบเทียบกับเครื่องมืออื่น · แนวความคิดของเดมมิ่ง E.Deming’s Concept · ฐานของ TQM House Model แรงจูงใจและเทคโนโลยี · หลังคาของ TQM House Model ความพอใจของลูกค้าและพนักงาน |
2 | 10:30-12:00 น. | เสาที่ 1: Concept หลักการ/เครื่องมือ/ตัวอย่างการนำไปใช้จริง/ปัญหาสำคัญและแนวทางป้องกันแก้ไข
· Marketing-in · Process · PDCA · Fact&Data · Standardize · Prvention |
3 | 13:00-14.30 น. | เสาที่ 2: Techniques หลักการ/เครื่องมือ/ตัวอย่างการนำไปใช้จริง/ปัญหาสำคัญและแนวทางป้องกันแก้ไข
· 7 QC Tools · 7 QC Tools · Statistical Process · Other QC Tools
|
4 | 14:45-16:00 น. | เสาที่ 3: หลักการ/เครื่องมือ/ตัวอย่างการนำไปใช้จริง/ปัญหาสำคัญและแนวทางป้องกันแก้ไข
· Policy Management · Daily Management · Cross-Functional Management · Bottom-Up Activities · Wrap Up and Discussion |
หัวข้อการฝึกอบรม วันที่ 2
Session | ช่วงเวลา | รายละเอียดเนื้อหา |
5 | 9:00-10:15 น. | ภาพรวมของ Kaizen และการเพิ่มผลิตภาพ
· แนวคิด และหลักการของไคเซ็น(Kaizen) · การเพิ่มผลิตภาพ(Productivity) · การวางระบบและการบริหารงาน ด้วยไคเซ็น · การรณรงค์ ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ รางวัล · การเก็บข้อมูลและการวัด |
2 | 10:30-12:00 น. | วิธีการคิด การมองปัญหาและการเขียนขั้นตอน Kaizen
· หลักการและข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน · วิธีการคิดเพื่อหาประเด็นในการปรับปรุงด้วยไคเซ็น · ขั้นตอนและเครื่องมือในการปรับปรุงงาน · เทคนิคในการมองปัญหาและกรณีศึกษา |
3 | 13:00-14.30 น. | Workshop Kaizen
· ผู้ร่วมอบรมทดลองปฏิบัติจากกรณีศึกษาของวิทยากร |
4 | 14:45-16:00 น. | Workshop Kaizen (ต่อ)
· ผู้ร่วมอบรมทดลองปฏิบัติจากกรณีศึกษาของวิทยากร · นำเสนอผลงาน และวิเคราะห์ผลที่ได้รับ Discussion |
วิธีการฝึกอบรม
บรรยาย กรณีศึกษา อภิปรายแลกเปลี่ยน Workshop
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- หัวหน้างาน
- ผู้เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติงาน จำนวนไม่เกิน 50 คน
ระยะเวลาการฝึกอบรม
ระยะเวลาการฝึกอบรม 2 วัน
แนวทางที่ใช้ในการอบรม
แนวทางการสัมมนาและรูปแบบการเรียนรู้ : ทฤษฎี 30 : ปฏิบัติ 70
บรรยาย ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม
กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”
ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” มากยิ่งขึ้น
การเสวนาตีความ วิเคราะห์เพื่อเข้าใจให้เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้
- การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) ด้วยวิธีการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
- เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้ความรู้ พร้อม VDO ประกอบการบรรยาย, กิจกรรมกลุ่มการระดมความคิด (Brainstorming) , การฝึกปฏิบัติการ (Work Shop), กรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง