โดย
อาจารย์ ไกรกิติ ทิพกนก
นักบริหาร,ที่ปรึกษา วิทยากรประจำสถาบัน KCT Academy
ที่มาและความสำคัญของการฝึกอบรม
ความสามารถในการแก้ปัญหามีส่วนสำคัญอย่างมากในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันสำหรับองค์กรธุรกิจสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการหาทางออกในการบริหารให้เกิดขึ้นในองค์กร และการแก้ปัญหาเพื่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ลูกค้าและการแข่งขัน บุคคลากรจึงควรเข้าใจแนวความคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ไม่ว่าจะเป็น การคิดผลิตภัณฑ์ คิดกระบวนการ ตลอดจนการบริการ ที่มีประสิทธิภาพ เพราะทางออกของปัญหา “ไม่เคยมีวิธีเดียว”
วัตถุประสงค์
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจแนวความคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการกับปัญหาให้ทันถ่วงที
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจและที่รักที่จะเผชิญและจัดการกับปัญหา
- ผู้เข้าอบรมได้รับการฝึกการคิดแก้ปัญหาเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กร
วิธีการ-จุดเน้น-และการติดตามผล
ลักษณะของการอบรมช่วงเช้าเป็นการบรรยายเพื่อให้ผู้ฟังมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและกระบวนการจัดการกับปัญหา การบรรยายเน้นเรื่องความตระหนัก เพิ่มMindset และการมีส่วนร่วม อันเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดในการทำให้ปัญหาถูกนำขึ้นมาแก้อย่างจริงจังในองค์กร ส่วน Workshop จะทำให้ผู้อบรมเห็นภาพอย่างชัดเจนด้วย ฝึกปฏิบัติทักษะความคิดแก้ปัญหาเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กรเชิงนวัตกรรมด้วยเครื่องมือที่กำลังได้รับความนิยม
ในส่วนการติดตามผล วิทยากรจะใช้วิธีการให้ผู้อบรมกลับไปแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานของตนเองและส่งข้อมูลให้วิทยากรประเมินหลังจากการฝึกอบรมแล้วประมาณ 3 เดือน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรด้วย)
หลักสูตรเหมาะสำหรับผู้บริหารระดับต้นถึงระดับกลาง และผู้ที่กำลังจะก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารที่การทำงานเกียวข้องกับการขับเคลื่อนกลยุทธ์องค์กร
หัวข้อการฝึกอบรม
Session | ช่วงเวลา | รายละเอียดเนื้อหา |
1 | E-learning | ความรู้เกี่ยวกับปัญหาในองค์กร
· องค์ประกอบของปัญหา · ลักษณะของปัญหา แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการแก้ปัญหา Polya’s four-step approach to problem solving: การแบ่งประเภทของปัญหา อาทิ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการบริการ ตัวอย่างโมเดลการแก้ปัญหา |
2 | E-learning | การแก้ปัญหาเพื่อการขับเคลื่อนวัตกรรมองค์กร
· การเตรียมองค์กรให้เป็นองค์กรที่พร้อมตอบสนองต่อปัญหา การสร้างวัฒนธรรม องค์ประกอบที่สำคัญ · กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ · Osborn’s Seven step creative problem Solving Process กระบวนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร · แนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกค้าขององค์กรและ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกระบวนการทำงานขององค์กร ด้วย CPS process of Osborn · เทคนิคการจัดการกับปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ – การค้นหาความจริง -การค้นหาปัญหา -การค้นหาความคิด ได้แก่ การเสนอวิธีแก้ไขที่มีความหลากหลาย แปลกใหม่และเป็นไปได้ ให้ได้มากที่สุด อย่างอิสระ โดยไม่มีการประเมินความเหมาะสม หรือถูกผิดในขั้นนี้ -การค้นหาคำตอบ ได้แก่ การบอกข้อดี–ข้อเสียของวิธีแก้ปัญหาแต่ละวิธี พร้อมให้น้ำหนักพิจารณาคัดเลือกวิธีแก้ไขที่เหมาะสม -การค้นหาคำตอบที่เป็นที่ยอมรับ · ปัจจัยแห่งความความสำเร็จในการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและขับเคลื่อนนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ลูกค้าและองค์กร |
3 | 9:00-12:00 น. | Mini Workshop การแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและสร้างนวัตกรรมการทำงานที่ตอบโจทย์ลูกค้าและองค์กร
· Workshop การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการที่ได้รับความนิยมคือ CPS process กระบวนการเริ่มตั้งแต่การระดมสมองค้นหาปัญหา การระบุความต้องการ การออกแบบ การสร้างต้นแบบ การคัดเลือก การขับเคลื่อน และการคิดเชิงกลยุทธ์ ลักษณะ Workshop เป็นกลุ่ม |
4 | 13:00-16:00 น. | Mini Workshop การแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันฯ(ต่อ)
· ทำการ Workshop ต่อ และ Wrap up เน้นย้ำ Creative Problem Solving Mindset ให้กับผู้อบรม และอธิบายเกี่ยวกับการประเมินและติดตามผลการแก้ปัญหาขององค์กร |
ทฤษฎีหลักที่นำมาใช้
Polya’s four-step approach to problem solving:
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย กรณีศึกษา อภิปรายแลกเปลี่ยน และ Work shop
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติงาน จำนวน 30 คน
ระยะเวลาการฝึกอบรม ระยะเวลาการศึกษาด้วยตนเองผ่าน E-learning 1 วัน ระยะเวลาการฝึกอบรม 1 วัน
แนวทางที่ใช้ในการอบรม
แนวทางการสัมมนาและรูปแบบการเรียนรู้ : ทฤษฎี 50 : ปฏิบัติ 50
บรรยาย ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม
กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”
ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” มากยิ่งขึ้น
การเสวนาตีความ วิเคราะห์เพื่อเข้าใจให้เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้
- การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) ด้วยวิธีการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
- เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้ความรู้ พร้อม VDO ประกอบการบรรยาย, กิจกรรมกลุ่มการระดมความคิด (Brainstorming) , การฝึกปฏิบัติการ (Work Shop), กรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง