บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary)
หลักสูตรนี้มีความมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนให้สามารถจำแนกแจกแจงองค์ประกอบของประเด็นที่สนใจหรือปมปัญหาแล้วหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อค้นหารากของต้นเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เราสามารถเข้าใจประเด็นหรือปมปัญหานั้นอย่างกระจ่างก่อนจะสรุป อันจะนำไปสู่การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ถูกต้องเหมาะสม โดยการใช้รูปแบบการทำสอนและการลงมือทำกิจกรรมเชิงคิดวิเคราะห์(Analytic Thinking Practice) ให้เกิดความตระหนักรู้ โดยอาศัยกระบวนการโค้ชคอยทำหน้าที่สร้างการตื่นรู้ (Self-Awareness) ซึ่ง “การเรียนรู้แนวนี้นั้นจะช่วยทำให้ผู้เรียนได้คิด พูด และลงมือทำแบบฝึกหัดฝึกการคิดวิเคราะห์และกิจกรรมด้วยตัวเองและร่วมกับผู้อื่น จนเกิดการตระหนักรู้ จนสามารถสร้างประยุกต์ใช้ในการทำงานได้เมื่อเจอสถานการณ์จริง” ซึ่งประเด็นสำคัญใช้ในการพัฒนานั้น ได้แก่
- การเรียนรู้เท่าทันกระบวนการรับรู้ของมนุษย์
- การใช้เหตุผลเชื่อมโยง แยกแยะสิ่งที่ไม่จริง หรือ เสมือนจริง ออกจาก สิ่งที่เป็นจริง
- การตึความข้อมูล
- การประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆเพื่อการตัดสินใจ
- ทำให้เขามีหลักคิดที่ถูกต้องและแยบคาย รอบคอบ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถแสดงศักยภาพในการคิดออกมาอย่างเต็มกำลัง
หลักการ/แนวคิด
“ความคิดเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง เพราะความคิดจะนำไปสู่การกำหนดค่านิยม ทัศนคติ การแสดงออกทางพฤติกรรม และความรู้สึกต่าง ๆ ทำให้ความคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวให้กับคนหรือองค์กรนั้นได้ ดังนั้นองค์กรที่มุ่งสู่อนาคตจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการคิดให้กับคนเป็นอันดับสำคัญที่สุด การคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์นั้นมีบทบาทสำคัญในการแจกแจงองค์ประกอบของประเด็นที่สนใจหรือปมปัญหาแล้วหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อค้นหารากของต้นเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เราสามารถเข้าใจประเด็นหรือปมปัญหานั้นอย่างกระจ่างก่อนจะสรุป อันจะนำไปสู่การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ถูกต้องเหมาะสม จนสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ศักยภาพขององค์กรในปัจจุบัน และมองภาพอนาคตขององค์กรได้ไกลขึ้น
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และพัฒนาการคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อการแก้ปัญหา
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และพัฒนาการคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อการตัดสินใจ
- ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาทักษะการคิดอย่างนักกลยุทธ์ โดยสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาการทำงานตามบริบทสถานการณ์ต่างๆได้
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร (Course Outline)
- ความหมายและความสำคัญและประโยชน์ ของการคิดวิเคราะห์สำหรับนักวางกลยุทธ์
- การคิดวิเคราะห์ที่บิดเบี้ยวของสมอง
- เข้าใจองค์ประกอบของการคิดเชิงวิเคราะห์ ด้วยเครื่องมือ Fish Bone diagram
- การตีความ-ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์-ความช่างสังเกตและการตั้งคำถาม-ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
- หลักการคิดเชิงวิเคราะห์และตรรกะวิบัติ
- การคิดวิเคราะห์เพื่อใช้ขับเคลื่อนกลยุทธ์
- ชี้ชัดในปัญหาและเป้าหมายกลยุทธ์
- วิเคราะห์ความน่าจะเป็น
- วิเคราะห์ความเป็นไปได้
- วิเคราะห์ผลกระทบ
- การประเมินสถานการณ์ 3 สภาวการณ์
- สภาวะที่แน่นอน (Certainty)
- สภาวะไม่แน่นอน (Uncertainty)
- สภาวะเสี่ยง (Risk)
- การหาทางเลือกเพื่อการวางแผนกลยุทธ์
- กระบวนการ 4 ขั้นตอนของการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
- ความแตกต่างของการคิดวิเคราะห์เชิงอนาคตและการคิดวิเคราะห์เชิงกำไร-ขาดทุน
- การพัฒนานิสัยการคิดเชิงวิเคราะห์สำหรับนักกลยุทธ์
กิจกรรมที่นำมาใช้ฝึกอบรม (Workshop & Activities)
หัวข้อกิจกรรม 1
ฝึกคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงนำไปสู่การแก้ปัญหา
Fish Bone diagram
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม:
- เพื่อทำให้ผู้เรียนฝีกการคิดวิเคราะห์แจงแจงถึงต้นเหตุ และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆอันเป็นพื้นฐานของการคิดเชิงวิเคราะห์
- เพื่อให้ผู้เรียนได้หลักการคิดวิเคราะห์ และตีความจนสามารถมองเห็นภาพย่อย และภาพรวมของสถานการณ์ได้เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจต่อไป
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพอสังเขป
- จัดแบ่งกลุ่มย่อยประมาณ 5-10 คน/กลุ่ม
- ให้ผู้เรียนให้กำหนดประเด็นปัญหาที่พบในการทำงานจริง จากนั้นช่วยกันระดมความคิดวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุในแต่ละปัจจัย ค้นหาสาเหตุหลักของปัญหา
- ให้ระดมความคิดช่วยกันหาทางเลือกที่ดีที่สุด
- เมื่อได้ทางเลือกแล้วให้กำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการจัดการคลี่คลายปัญหานั้นให้ดีขึ้น
(เอกสารแบบฟอร์มการสรุปประเด็นสำคัญ)
เอกสาร / อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
- กระดาษ
- ดินสอหรือปากกา
ประเด็นสำคัญของกิจกรรม
- การตระหนักรู้ความสำคัญในการคิดวิเคราะห์อย่างละเอียดและกว้างขวาง ครบทุกมิติ
- การฝึกให้มีหลักคิดที่ละเอียดรอบคอบ และแจกแจงจนกระจ่างทำให้เรามองเห็นสถานการณ์ครบถ้วน จนทำให้ตัดสินใจใช้กลยุทธ์ที่ถูกต้อง มาขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างเหมาะสม
- การเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม จะต้องมาจากการตัดสินใจที่มีข้อมูลที่ถูกต้องเป็นหลักอ้างอิง
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
- ไม่จำกัด
- จับกลุ่มเพื่อให้เกิดความสะดวกในการแลกเปลี่ยน
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ของการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ
- ผู้เรียนเปลี่ยนความคิดมาให้ความสำคัญกับการค้นหาข้อมูลที่กระจ่างชัดเพื่อเป็นหลักฐานในการตัดสินใจ
- ผู้เรียนมีเทคนิควิธีคิดที่ถูกต้องและทรงประสิทธิภาพ
แนวทางการฝึกอบรม (Learning Method)
แนวทางการสอนและรูปแบบการเรียนรู้
ทฤษฎี 40% : ปฏิบัติ 60%
- บรรยาย ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม
- กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด
ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”
- ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ
เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” ยิ่งขึ้น
- การเสวนาตีความ
ฝึกวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้
- การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่และการฝึกประสบการณ์ (Adult Learning & Experiential Learning) ด้วยวิธีการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
- เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้มุมมองหลักคิดผ่านกิจกรรมกลุ่ม และเดี่ยว การฝึกปฏิบัติการ (Work Shop), กรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
วิทยากร : วิทยากรประจำสถาบัน