หลักการ/แนวคิด
ในโลกธุรกิจทุกการ การบริหารการเงินเป็นสิ่งที่เราพึงกระทำก่อนเป็นอย่างแรก วิธีเริ่มต้นที่ดีสำหรับการบริหารที่ไม่ใช่นักบัญชีและการเงินต้องเข้าใจ คือ การทำความเข้าใจผลประกอบการผ่านงบการเงิน เพื่อให้เราสามารถประเมินความเป็นไปได้ ของธุรกิจ ก่อนจะบังคับทิศทางของธุรกิจไปจนถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้บริหารในทุกส่วนงานต้องมีความเข้าใจในแนวความคิดพื้นฐานทางการเงิน เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และตัดสินใจแก้ไขปัญหา และวางกลยุทธ์ในการใช้ทรัพยากรขององค์กรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด
หลักสูตรนี้จะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านการเงินธุรกิจ สำหรับท่านที่ไม่มีพื้นฐานด้านการเงิน การบัญชีโดยเฉพาะ เพื่อให้ท่านจะสามารถวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจได้แม่นยำขึ้น ด้วยงบด้านการเงิน และเพิ่มศักยภาพในการกำไรทางธุรกิจ
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการอ่านงบการเงิน สามารถวิเคราะห์และแปลความหมายตีความ ตัวเลขในงบการเงิน เพื่อประโยชน์เชิงบริหาร
- เพื่อสามารถวิเคราะห์ฐานะการเงินของบริษัท ตลอดจนผลประกอบการของกิจการ
- เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และมีแนวการวิเคราะห์ และปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อธุรกิจด้วยงบการเงิน
เนื้อหาการเรียนรู้
วันแรก
ส่วนที่1 กิจกรรมธุรกิจ
- มิติแห่งการจัดการ
- ปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจกับภาระงานทางการเงิน
- เข้าใจกระบวนการทำงานและบทบาทการบริหารการเงิน ในฐานะผู้บริหารทั่วไปที่ต้องตัดสินใจทางกลยุทธ์
- เรียนรู้วัฏฏะจักรของทุนและการวางยุทธศาสตร์การบริหารการเงินทั้งระบบ (การบริหารสภาพคล่อง,การบริหารหนี้สิน และ การบริหารกองทุนสำรอง)
- ความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางธุรกิจ และการบริหารการเงินของกิจการ
ส่วนที่2 หลักการบัญชีและความสำคัญของข้อมูลในการบริหารองค์กร
- เรียนรู้หลักการบัญชีและการเงินที่สำคัญ
- ความสำคัญของการวิเคราะห์งบการเงิน ประเด็นสำคัญที่นักบริหารควรทราบ
- ประเภทของการบัญชี
- ผู้ใช้ข้อมูลทางด้านการบัญชี
- จุดอ่อนของบัญชีการเงิน
- ประโยชน์ของบัญชีเพื่อการจัดการ
- การเปรียบเทียบการบัญชีเพื่อการจัดการและการบัญชีการเงิน
- ข้อมูลกับระดับการบริหาร
ส่วนที่ 3 ความสัมพันธ์และวิธีอ่านงบกระแสเงินสด งบกำไรขาดทุน และงบดุล
- ความหมายของการวิเคราะห์งบการเงิน
- ประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงินที่มีผลต่อการตัดสินใจ
- แหล่งข้อมูลที่สำคัญในการวิเคราะห์งบการเงิน
- องค์ประกอบงบการเงิน ความเชื่อมโยงของงบการเงินต่างๆ
- งบแสดงฐานะทางการเงิน
- งบกำไรขาดทุน
- งบกระแสเงินสด
- การวิเคราะห์งบการเงินของธุรกิจเพื่อรักษากำไรให้อยู่ในระดับสูง
- เรียนรู้ต้นทุนผันแปร-ต้นทุนคงที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์การเงิน
ส่วนที่4 อัตราส่วนทางการเงินและการใช้งาน
- เทคนิคในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินเพื่อการวางแผนและตัดสินใจ
- อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง
- อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร
- เทคนิคการดูงบการเงินที่ผิดปกติ
- การสังเกตงบการเงินที่ผิดปกติ
วันที่2
ส่วนที่ 5 ความเสี่ยงหรือปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการเงิน
- กลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน
- หลักการวางแผนบริหารความเสี่ยงการเงิน และ เพื่อการสร้างข้อได้เปรียบทางการเงินและกีดกันคู่แข่ง
ส่วนที่6 การวิเคราะห์สถานะการเงินและสภาพคล่องของผู้ประมูลงาน
- วิธีการประเมินธุรกิจ ก่อนการทำการวิเคราะห์สถานภาพทางการเงิน
- เกณฑ์และตัวชี้วัดสถานภาพทางการเงิน
- การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินเพื่อการวางแผนและตัดสินใจ
- ข้อจำกัดของการวิเคราะห์งบการเงิน
- CAMEL ANALYSIS model
ส่วนที่7 หลักการคิดค่าของเงินที่เปลี่ยนไปตามเวลา
- แนวคิดเบื้องต้นมูลค่าเงินตามเวลา
- มูลค่าอนาคตของ เงินก้อนเดียว และเงินงวด
- มูลค่าปัจจุบันของ เงินก้อนเดียว และเงินงวด
- การประยุกต์มูลค่าเงินตามเวลา
ส่วนที่8 หลักการทำงบประมาณโครงการและการบริหารงบประมาณ
- วัตถุประสงค์ของแผนการปฎิบัติงาน (Action Plan Management) และการจัดทำงบประมาณ
- โครงสร้างของ MPS (Management Action Plan)
- การวางแผนงบประมาณสำหรับโครงการขนาดเล็ก (Small Scale Planning)
- ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแผนงานด้วย SCHEMES Model (Space, Cash, Helper, Equipment, Materials, Expertise, System)
- การวางแผนงบประมาณสำหรับโครงการขนาดใหญ่ (Managing Big Project)
- การสร้าง To do list หรือ Action Program
- 3 ขั้นตอนการสร้าง To do list
- การนำ To do list ไปใช้
- ตัวชี้วัดใช้ประเมินแผนการใช้งบประมาณการปฎิบัติการเพื่อการบริหาร ( Financial Criteria for MAP Evaluation)
กิจกรรมและWorkshop
กิจกรรมที่1 Decision
Inspiring Workshop : ฝึกการวิเคราะห์การบริหารเงินและสภาพคล่องจากงบแสดงฐานะทางการเงิน และอัตราส่วนทางการเงินเพื่อการตัดสินใจทางกลยุทธ์
Business Model : Business Model ต่างๆที่ได้เรียน
แนวทางการสอนและรูปแบบการเรียนรู้
ทฤษฎี 50% : ปฏิบัติ 50%
- บรรยาย : ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม
- กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด : ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”
- ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ : เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” ยิ่งขึ้น
- การเสวนาตีความ : ฝึกวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้
- การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่และการฝึกประสบการณ์ (Adult Learning & Experiential Learning) ด้วยวิธีการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
- เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้มุมมองหลักคิดผ่านกิจกรรมกลุ่ม และเดี่ยว การฝึกปฏิบัติการ (Work Shop), กรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง