In-House Training Courses
Thinking & Decision Making
Why-Why Analysis

Background photo created by creativeart – www.freepik.com
ทำไม ? ต้อง Why-Why Analysis :
จากการทำงานเป็นวิทยากร และที่ปรึกษาให้กับองค์กรธุรกิจชั้นนำกว่าสิบห้าปีที่ผ่านมา พบว่าจุดอ่อนที่สำคัญขององค์กรไทยส่วนใหญคือ ทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของบุคลากรระดับจัดการยังน่าเป็นห่วง ส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร บางครั้งจากปัญหาเล็กน้อยวิเคราะห์และแก้ไขกันไม่ตรงจุดกลายเป็นปัญหาเรื้อรังบานปลายในระดับชาติ ส่งผลกระทบเชิงลบต่อองค์กรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาการหนักที่สุดที่พบมาคือ ไม่เข้าใจเลยว่าปัญหาคืออะไร มีกี่แบบ แต่ละแบบวิเคราะห์และแก้โดยใช้เครื่องมืออะไร อย่างไร
หลักสูตร “Why-Why Analysis เทคนิคการวิเคราะห์เจาะเกราะปัญหาเรื้องรังให้ถึงแก่น!” เป็นหลักสูตรที่ออกแบบพัฒนาขึ้น เพื่อตอบโจทย์ในการปิด Gap และยกระดับความรู้และทักษะการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาแบบเรื้อรัง (Chronic Problem) หรือปัญหาที่เกิดจากการออกแบบและควบคุมกระบวนการทำงานไม่ดีพอ ทำให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำซาก จำเจ ไม่มีทางออก เนื้อหาประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกปูพื้นความเข้าใจที่สำคัญเกี่ยวกับปัญหาผู้เข้าอบรมจะเข้าใจภาพของปัญหาดีขึ้น ส่วนที่ 2 คือส่วนของกระบวนการวิเคราะห์ซึ่งลงลึกรายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์แบบ Step by Step ส่วนที่ 3 คือการนำเอามาตรการจากส่วนที่ 2 มาวางแผนการปรับปรุง และจัดทำ Action Plan โดยทั้งสามส่วนนี้ที่ผ่านการสอนมากกว่า 50 รุ่น ทำให้เนื้อหากระชับชัดเจน ? ผู้ผ่านหลักสูตรนี้แล้วจะเห็นภาพปัญหาที่ชัดพร้อมการเลือกเครื่องมือมาวิเคราะห์จะถูกต้อง (ทั่วไปไม่มีที่ไหนสอน ต้องผ่านการทดลองทำบ่อยๆจึงจะทราบ) ซึ่งจะนำไปสู่การคิดวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ มีที่มาที่ไปชัดเจน
รายละเอียดโปรแกรมการเรียนรู้ตามระดับความลึก :
หลักสูตรพื้นฐาน (2 วัน) : มุ่งเน้นความเข้าใจทฤษฎี และหลักการฯ
- โปรแกรมเรียนรู้ขนาดกระทัดรัด เน้นการเรียนรู้แบบ Activities Based Learning
- สัดส่วน Activities : Lecture : Case Study & Practice : Coaching Assignment & Follow up เป็น 40:20:40:0
- เพื่อประสิทธิผลของผู้เรียน จำกัดจำนวนผู้เรียนไว้ (Attendee per class) < 20 ท่าน
- กลุ่มเป้าหมาย พนักงานทุกระดับ (แต่เหมาะที่สุดคือกลุ่มหัวหน้างาน หรือกลุ่มที่สามารถกลับไปปรับเปลี่ยน วิธีการ/กระบวนการทำงานแบบใหม่ได้)
- รายละเอียดเนื้อหา โปรแกรมมีดังนี้ ;
- Part 1 : ทำความรู้จักปัญหา
- นิยามของปัญหา
- จำแนกประเภทของปัญหาในบริบทต่างๆ
- ความแตกต่างระหว่างปัญหาเรื้อรัง และปัญหาแบบครั้งคราว
- ความเข้าใจที่สำคัญในการแก้ไขปัญหา
- Part 2 : กระบวนการในการวิเคราะห์/แก้ไขปัญหา
- กระบวนการแก้ไขปัญหา 7 ขั้นตอน
- การระบุปัญหา
- การศึกษา/สำรวจสภาพปัญหา
- การจำแนกปัญหา
- W/S #1 : Pareto Chart by Excel
- การตั้งเป้าหมายปรับปรุง
- เครื่องมือในการวิเคราะห์หาสาเหตุ
- W/S #2 : Analytical Skill Pre-test
- ข้อแตกต่างระหว่าง Why-Why กับแผนภูมิก้างปลา
- การวิเคราะห์สาเหตุแบบ Why-Why คืออะไร ?
- รูปแบบ/วิธีคิดแบบ Why-Why
- สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนทำการวิเคราะห์
- องค์ประกอบของทีมงานวิเคราะห์
- ขั้นตอนการวิเคราะห์
- การระบุปัญหา
- W/S #3 : Problem Identification Practice
- การตั้งคำถาม
- W/S #4 : Ask & Answer Practice
- วิธีการมอง/วิเคราะห์ปัญหาแบบ Why-Why
- การวิเคราะห์จากสภาพที่ควรจะเป็น (ประสบการณ์)
- การวิเคราะห์จากหลักการ/ทฤษฏี
- ข้อควรระวังในการวิเคราะห์ Why-Why
- การตรวจสอบย้อนกลับ
- สรุปจุดสำคัญในการวิเคราะห์
- เป้าหมายที่สำคัญของการวิเคราะห์ Why-Why
- W/S #4 Analytical Process Practice
- Part 3 : การวางแผนปรับปรุง/แก้ไขปัญหา
- ความเชื่อมโยงระหว่างแผนงาน และ RCA
- การกำหนดมาตรการแก้ไข
- ข้อสังเกตที่ได้จากการวิเคราะห์
- ตัวอย่างการกำหนดมาตรการแก้ไข
- W/S # Countermeasure Setting Practice
- ระดับของการปรับปรุง
- มาตรการปรับปรุงที่มีประสิทธิผล
- แผนการติดตามผลการปรับปรุง
- ตัวอย่างแผนการปรับปรุงงาน
เมื่อผ่านหลักสูตรนี้แล้ว…สิ่งที่ผู้อบรมจะได้คือ…(ผลลัพธ์หลังการอบรม)
- เข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของแนวคิด และทักษะเกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขปัญหา
- เข้าใจ และสามารถระบุนิยามรวมถึงที่มาของปัญหาที่ได้อย่างถูกต้อง
- เข้าใจ และสามารถอธิบายแนวทางการคัดเลือกเครื่องมือสำหรับแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องกับลักษณะของปัญหาแต่ละประเภท
- เข้าใจกระบวนการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาโดยใช้หลักการเปรียบต่าง (Comparative Method)
- เข้าใจแนวทางการประยุกต์ใช้แนวคิด และหลักการที่ถูกต้องไปใช้ในการแก้ไขปัญหา เพื่อตอบโจทย์โครงการทางธุรกิจต่อไป
วิทยากร :
อาจารย์พีรณัฏฐ์ กาพย์กลอน (โค้ชแจ๊คกี้)
วิทยากร และที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมการจัดการทางธุรกิจ ประสบการณ์ 15 ปี
กลุ่มเป้าหมาย :
หัวหน้างาน, ผู้จัดการ หรือผู้บังคับบัญชาทุกระดับ
อุปกรณ์ประกอบการสัมมนา:
Flip Chart, Post-it Note, ปากกาเขียน White board
แนวทางที่ใช้ในการอบรม
แนวทางการสัมมนาและรูปแบบการเรียนรู้ : ทฤษฎี 50 : ปฏิบัติ 50
บรรยาย ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม
กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”
ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” มากยิ่งขึ้น
การเสวนาตีความ วิเคราะห์เพื่อเข้าใจให้เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้
- การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) ด้วยวิธีการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
- เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้ความรู้ พร้อม VDO ประกอบการบรรยาย, กิจกรรมกลุ่มการระดมความคิด (Brainstorming) , การฝึกปฏิบัติการ (Work Shop), กรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

Ready to join our knowledge castle?
Find the right program for your organization and achieve your goals today