fbpx

In-House Training Courses

Thinking & Decision Making

Systematic Inventive Thinking

หลักการ/แนวคิด

การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking ) หมายถึง การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มองภาพรวมอย่างเป็นระบบ มีส่วนประกอบย่อย ๆ โดยอาศัยการคิดในรูปแบบโดยทางตรงและโดยทางอ้อม การคิดระบบโดยทางตรงมีเป้าหมายกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่จำแนก รูปแบบการคิดตามพื้นฐานของมนุษย์ แต่แยกรูปแบบการคิดโดยมุ่งที่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ โดยจำแนกออกเป็น 3 แบบ

  1. การคิดเพื่อรู้เข้าใจหน่วยระบบ
  2. การคิดเพื่อวิเคราะห์และประเมินหน่วยของระบบ
  3. การคิดเพื่อออกแบบ และก่อตั้งหน่วยระบบ

ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ การสร้างให้บุคลากรมีความสามารถในการคิดเชิงระบบจะทำให้เกิดผลดีห้าประการต่อองค์กรได้แก่

  1. การคิดเชิงระบบ (System Thinking) ทำให้บุคคลากรสามารถมองเห็นวิธีคิดและภาษาที่ใช้อธิบายพฤติกรรมความเป็นไปต่าง ๆ ถึงความเชื่อมโยงต่อเนื่องของสรรพสิ่งและเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ ผูกโยงกันเป็นระบบ เป็นเครือข่ายด้วยสภาวะการพึ่งพาอาศัยกัน สามารถมองปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นวัฎจักรโดย นำมาบูรณาการเป็นความรู้ใหม่ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงระบบได้อย่างมีประสิทธิผลสอดคล้องกับความเป็นไปในโลกแห่งความจริง
  1. แบบแผนความคิด (Mental Model) คือ ทำให้บุคคลากรตระหนักถึงกรอบแนวคิดของตนเอง รูปแบบความคิดความเชื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจและการกระทำของตน และพยายามพัฒนารูปแบบความคิดความเชื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและสามารถที่จะบริหารปรับเปลี่ยนกรอบความคิดของตนได้
  2. การสร้างพลังแห่งตน (Personal Mastery) คือ การส่งเสริมให้คนในองค์กรสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง โดยการจัดทำกลไกต่าง ๆ เพื่อสร้างจิตสำนึกของคนในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างหน่วยงานระบบสารสนเทศระบบการพัฒนาบุคคล หรือแม้แต่ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานประจำวัน
  3. การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) คือ การกำหนดกรอบความคิดเกี่ยวกับสภาพในอนาคต ของหน่วยงานที่ทุกคนในหน่วยงาน มีความปรารถนาร่วมกันช่วยกันสร้างภาพอนาคตของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ริเริ่มทดลองสิ่งใหม่ ๆ ของคนในหน่วยงาน และให้การทำงานเป็นไปในทิศทาง หรือกรอบแนวทางที่มุ่งไปสู่จุดเดียวกัน
  4. การเรียนรู้ร่วมเป็นทีม (Team Learning) คือ การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์และทักษะวิธีคิด เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาและศักยภาพของทีมงานรวมทั้งการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันเป็นทีมด้วย ซึ่งการเรียนรู้และพัฒนาในเรื่องนี้ จะช่วยให้การทำงานร่วมกันในหน่วยงานมีความเป็นทีมที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกแต่ละคนสามารถแสดงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาได้อย่างเต็มที่

ด้วยเหตุนี้ทางบริษัทจึงได้สร้างหลักสูตรนี้ขึ้น เพื่อให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องและจำเป็นใน การบริหารองค์กร โดยการจัดการอบรมให้ความรู้ การถ่ายทอดกรณีศึกษาในการประยุกต์ใช้งานในลักษณะต่างๆผ่านวิทยากรที่มีประสบการณ์ความสำเร็จในการนำแนวคิดในการใช้บริหารองค์กร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเปิดมุมมองเกี่ยวกับโอกาสให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ

วัตถุประสงค์

  • ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการทฤษฎีการทำงานของสมองและกระบวนการคิดเชิงระบบของมนุษย์ต่อ ซึ่งมีผลต่อการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนมีเครื่องมือและเทคนิคการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของการคิดเชิงระบบ
  • เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนให้ใช้เหตุผลเพื่อวิเคราะห์ความสำเร็จและความล้มเหลวในการทำงานและหาแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
  • เพื่อให้ฝึกให้ผู้เรียนแต่ละคนมีแนวคิดในการทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถทำความเข้าใจกับงานที่ได้รับเพื่อที่จะสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์
  • ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดใหม่ที่สามารถนำไปต่อยอดการดำเนินการขององค์กรหรือหน่วยงานที่ตัวเองรับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และพร้อมรับมือกับการแข่งขันทางธุรกิจและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ


เนื้อหาการเรียนรู้

ส่วนที่1)  เรียนรู้และเข้าใจแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการคิดเชิงระบบ

  • การทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวา
  • ความหมายของการคิด (Thinking Concept)
  • องค์ประกอบของการคิด
  • ความหมายของการคิดเชิงระบบ
  • Systematic inventive Thinking theory : SIT Model

ส่วนที่2)  ประยุกต์แนวความคิดเชิงระบบเข้ากับการทำงาน

  • เครื่องมือสำหรับการคิดและเทคนิคการแก้ปัญหาเชิงระบบ SIT (Complexity & Approach)
  • ค้นหาสาเหตุของปัญหาและการแก้ปัญหาเชิงระบบ ปรับพื้นฐานความเข้าใจและแนววางกรอบการพัฒนาการแก้ปัญหาเชิงระบบ (Systematic Problem) 6 sigma DMAIC  Problem solving method

กิจกรรมและWorkshop

กิจกรรมที่1 Brain Game

Inspiring Workshop :  ฝึกการคิดแก้ปัญหา Brain Game  (Complexity & Approach) เพื่อเตรียมความพร้อมให้สมองและฝึกทักษะการคิด

กิจกรรมที่2 Thinking about work

Inspiring Workshop :  ฝึกการคิดแก้ปัญหาด้วยการคิดเชิงระบบ ด้วย SIT (Complexity & Approach) เพื่อการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงประสิทธิภาพงานให้ได้ตามแผนยุทธศาสตร์หลักของบริษัท

Business Model :  SIT Model และ DMAIC

 

แนวทางการสอนและรูปแบบการเรียนรู้

ทฤษฎี 50% : ปฏิบัติ 50%

  • บรรยาย ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม
  • กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”
  • ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ : เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” ยิ่งขึ้น
  • การเสวนาตีความ : ฝึกวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้

 

  • การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่และการฝึกประสบการณ์ (Adult Learning & Experiential Learning) ด้วยวิธีการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
  • เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้มุมมองหลักคิดผ่านกิจกรรมกลุ่ม และเดี่ยว การฝึกปฏิบัติการ (Work Shop), กรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

Ready to join our knowledge castle?

Find the right program for your organization and achieve your goals today

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save