In-House Training Courses
Thinking & Decision Making
Futuristic Thinking for Sustainability Growth and Crisis Prevention
หลักคิดและหลักคาดการณ์
หลักคิด สรรพสิ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน หรือในอีกความหมายหนึ่งคือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนเกี่ยวเนื่องกัน หมายความว่า บนโลกของเรานั้นทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงกันทั้งสิ้น เช่น การตัดไม้ทำลายป่าส่งผลให้ในช่วงฤดูฝนเกิดภัยธรรมชาติน้ำท่วม และส่งผลต่อประชาชน เป็นต้น
หลักคาดการณ์ พิจารณาจาก ปัจจัยขับเคลื่อนอนาคตอย่างองค์รวม ปัจจัยขับเคลื่อนอนาคต หมายถึง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอนาคตของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเราต้องคาดการณ์ว่าปัจจัยเหล่านี้จะเป็นเช่นไรในอนาคต และจะกระทบต่อเป้าหมายที่เราต้องบรรลุอย่างไรบ้าง สิ่งที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนเหล่านี้แบ่งออกเป็น ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในเป็นลักษณะที่เราสามารถบอกถึงตัวตนได้ และปัจจัยภายนอกเช่น ครอบครัว เพื่อน สถานที่พักอาศัย เป็นต้น
การคิดเชิงอนาคต คือความสามารถในการฉายภาพแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้หลักคาดการณ์ที่เหมาะสม การคิดเชิงอนาคตเป็นการฉายภาพไปสู่อนาคตหากเราตั้งคำถามเหล่านี้จะมีคำตอบได้หากเราใช้กระบวนการคิดเชิงอนาคต เช่น ถ้าตัดสินใจทำสิ่งนี้ อาจจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง? ขณะนี้เป็นเช่นนี้ ต่อไปอาจจะเป็นเช่นไรได้บ้าง?
การคิดเชิงอนาคตนั้นเป็นการคิดมิติใหม่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องฝึกการคิดเชิงอนาคต ซึ่งการคิดเชิงอนาคตทำให้เกิดประโยชน์ อาทิเช่น
เพราะเราต้องอยู่เพื่ออนาคต ไม่ใช่ปัจจุบัน การคิดเชิงอนาคตทำให้เราสามารถปรับตัวและทันต่อสถานกาณ์ได้
เพราะช่วยให้ตัดสินใจวันนี้ได้ดี เพื่ออนาคตที่ดีกว่า (เพราะการคิดเชิงอนาคตทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ดีเนื่องจากเราสามารถวิเคราะห์อนาคตได้ดี และทันต่อการเปลี่ยนแปลง)
เพราะช่วยให้ตระหนักว่า เราเป็นทั้งผู้กระทำ และ ผู้ถูกกระทำ จากอนาคต
เพราะช่วยให้เรามองการณ์ไกล ไม่มองแคบ ใกล้ (การคิดเชิงอนาคตทำให้เราสามารถมองเห็นภาพในอนาคต และสามารถปรับตัว สามารถแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างทันท่วงที)
เพราะช่วยเราเชื่อมโยงกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักคิดเชิงอนาคตมองว่าเราอยู่บนโลกแห่งการเชื่อมโยงกัน สรรพสิ่งล้วนพึ่งพากัน
ดังนั้นการเป็นนักคิดเชิงอนาคตจะสามารถทำให้ปรับตัวได้ เป็นเป็นผู้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้
สิ่งที่คาดหวังและผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้
1. ตระหนักถึงความสำคัญการคิดเชิงอนาคต
2. เพื่อเตรียมความพร้อมและเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในทุกสถานการณ์
3. เพื่อช่วยให้การตัดสินใจในปัจจุบันส่งผลที่ถูกต้องต่ออนาคต
4. เพื่อช่วยให้มองเห็นภาพของความสำเร็จโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
หัวข้อการฝึกอบรม(Course outline)
• หลัก “คิด”และหลักการ “คาดการณ์” อนาคต
• วิธีการวาดภาพอนาคต “Futuristic Planning”
• ฝึกทักษะการคาดการณ์อนาคต เพื่อการพัฒนางาน/โปรเจคที่รับผิดชอบ
วันที่ 1 Agile Workshop
Session | ช่วงเวลา | รายละเอียดเนื้อหา |
1 | 9:00-10:30 น. | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับFuturistic Thinking (คิดเพื่ออนาคต) · ความหมายของ”อนาคต” เหตุใดต้องคิดเชิงอนาคต · ปูพื้นฐานให้ผู้อบรมเข้าใจถึงการทำงานภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว วิธีคิด Mindset ในการปรับตัวสร้างองค์กรให้ที่เป็นองค์กรภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการคิดเชิงอนาคต |
2 | 10:30-12:00 น. | · หลัก “คิด”เชิงอนาคต · หลักการ “คาดการณ์” อนาคต |
3 | 13:00-14.15 น. | มุมมองเชิงอนาคตศาสตร์ การมองไปข้างหน้าและการ การปรับตัวไปข้างหน้า· Changing Focus· Change Agent Point of View· Competitiveness Change· Re-engineering Organization· New Culture· Regulatory Requirement· New Supply Chain · New Emergency Readiness · Workshop Social Futuristic Analysis |
4 | 14:30-16:00 น. | · Workshop Social Futuristic Analysis (ต่อ) · วิธีพัฒนาตนเองให้มีทักษะการเป็นนักคิดเชิงอนาคตเพื่อการพัฒนาองค์การ(Organization awareness) · วิทยากรสรุปเนื้อหาของการอบรม |
วันที่ 2
Session | ช่วงเวลา | รายละเอียดเนื้อหา |
1 | 9:00-10:30 น. | ความสามารถในการปรับองค์กรให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง (Adaptive to Change) · การปรับปรุงกระบวนการ Process Improvement · กรณีศึกษา การจัดทีมงาน การปรับปรุงกระบวนการเพื่อรับมือความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตงขององค์กรระดับโลก |
2 | 10:30-12:00 น. | ภาวะวิกฤติ: การพยากรณ์และการวางแผนเพื่อการรับมือกับภาวะวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้ในองค์กร · แนวความคิดและทฤษฎีพื้นฐานการจัดการภาวะวิกฤต · ตัวอย่างพยากรณ์ภาวะวิกฤติ และการวางแผนเพื่อการจัดการที่ดี และบทเรียนจากความผิดพลาดในการจัดการวิกฤตขององค์กรระดับโลก |
3 | 13:00-14.15 น. | Workshop จากงานของผู้ร่วมอบรม · Workshop “Process Improvement for tackle the Future Challenge & Crisis” ให้ผู้อบรมนำสิ่งที่จะทำงานจริงวิเคราะห์และวางแผน โดยใช้ Template · Pitching Techniques |
4 | 14:30-16:00 น. | · การนำเสนอผลงาน · วิทยากรสรุปเนื้อหาของการอบรม |
กลุ่มเป้าหมายของการอบรม
1. ผู้นำและผู้บริหารระดับต้นขององค์กร
2. ผู้บริหารและบุคลากรในสายงานบริหารทรัพยากรมนุษย์
3. ผู้จัดการโครงการ (Project Management Leader) และหัวหน้าทีม (Team Leader)
4. บุคลากรในระดับหัวหน้างาน
ระยะเวลาดำเนินการฝึกอบรมตามหลักสูตร
หลักสูตร 2 วัน โดยการอบรมจะประกอบด้วยการบรรยายทฤษฎีและหลักการกิจกรรมปฏิบัติการกลุ่มและการฝึกประยุกต์ความรู้จากการฝึกอบรมความท้าทายหรือวาระที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผลการดำเนินงาน (ตามความเหมาะสม)
วิธีการดำเนินหลักสูตร
1. เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้สามารถนำไปสู่ประโยชน์ต่อองค์กรและสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของแต่ละองค์กร เนื้อหาหลักสูตรจะได้รับการออกแบบให้เหมาะสมและตามความต้องการเฉพาะของแต่ละองค์กร (Customized) โดยดำเนินการจัดอบรมภายในองค์กร (In House Training) ในวันและเวลาที่องค์กรสะดวกและบุคลากรมีความพร้อมในการเข้าอบรมอย่างพร้อมเพรียง
2. เน้นรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการควบคู่กับทฤษฎี และกรณีตัวอย่าง เพื่ออธิบายประมวลสรุปให้บุคลากรผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความเข้าใจและมีทักษะเบื้องต้นเพียงพอในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ต่อไป
3. กิจกรรมการเรียนรู้1. เสวนากลุ่มและการระดมความคิด “หาปัญหาและอุปสรรคของการเรียนรู้งานที่เขาพบในองค์กร ร่วมกันวิเคราะห์ทำความเข้าใจปัญหา สาเหตุ และผลกระทบของระบบการทำงานที่ก้าวไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจในปัจจุบันซึ่งพบได้ในแทบทุกองค์กร เพื่อระบุข้อดี(จุดแข็ง)และทิศทางโอกาสในการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร แล้วให้พวกเขาช่วยกันเขียนวิธีต่างๆ ที่ทำให้พวกเขาสามารถเรียนรู้งานได้ดีขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขามีส่วนร่วมในการวางระบบการเรียนรู้ในองค์กร (Knowledge Flow)
กิจกรรมการเรียนรู้2. เสวนากลุ่มระดมความคิดหัวข้อ “ทักษะที่จำเป็นสำหรับพนักงานทุกคนในองค์กรที่จำเป็นในการสร้างความเปลี่ยนแปลง” เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบจุดเสีย และจุดเด่นของตนด้วยตนเอง ฝึกการทำงานเป็นทีม ร่วมกันวิเคราะห์ทำความเข้าใจปัญหา สาเหตุ และผลกระทบของการทำงานอันเนื่องมาจากการขาดความเข้าใจในทักษะแต่ละด้าน แล้วเปิดโอกาสให้พวกเขาช่วยกันสรุปบทเรียนจากกิจกรรม เพื่อระบุโอกาสในการปรับปรุงศักยภาพของตนเองและทีมร่วมกัน
กิจกรรมการเรียนรู้3. “เรียนรู้ร่วมกันผ่านกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบจุดเสีย และจุดเด่นของตนด้วยตนเอง ฝึกการทำงานเป็นทีม ร่วมกันวิเคราะห์ทำความเข้าใจปัญหา สาเหตุ และผลกระทบของการทำงานที่ไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ทีมขาดเอกภาพในการดำเนินตามยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลง แล้วเปิดโอกาสให้พวกเขาช่วยกันสรุปบทเรียนจากกิจกรรม และเขียน “แผนการทำงาน Action Plan (กลุ่มหัวหน้างาน) หรือ Strategic operation Plan (กลุ่มผู้บริหาร) เพื่อกำหนดทิศทางโอกาสในการปรับปรุงระบบการทำงานร่วมกันเพื่ออนาคต
แนวทางและเทคนิคที่ใช้ในการดำเนินหลักสูตรฝึกอบรม
การฝึกอบรมใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยเน้นให้ผู้เรียนได้คิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้ได้ทันที
o การสร้างและกระตุ้นการสื่อสาร 2 ทาง เช่น
การแนะนำตัวเอง จุดประสงค์และความคาดหวังจากการอบรม
คำสำคัญต่างๆ (Key Words)
การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เข้าอบรม
o การประเมินผลตนเองหลังการอบรม
ผ่านการนำเสนอผลงานกิจกรรมกลุ่ม (Workshop)
ผ่านการนำไปถ่ายทอดต่อ
o Workshop ประเด็นสำคัญที่สามารถฝึกทักษะได้
กระตุ้นให้ฝึกคิดและนำเสนอ
นำเทคนิค เครื่องมือและแบบฟอร์มมาตรฐานไปทดลองใช้
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มระดมสมอง
o Assignment เพื่อนำไปฝึกฝนเพิ่มเติม
หัวข้อหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงานของตนเอง
เนื้อหาของหลักสูตรมีทั้งการบรรยาย , การระดมสมอง (Brainstorming) , การปฏิบัติการ (Work Shop) , การแสดงสถานการณ์จำลอง (Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator)เพื่อให้ผู้เรียนรู้ สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับจริตของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ
Ready to join our knowledge castle?
Find the right program for your organization and achieve your goals today