fbpx

In-House Training Courses

Thinking & Decision Making

Design Thinking and Agile Process for Business Innovation and Rapid Development

Agile word lettering illustration with icons for web banner, flyer, landing page, presentation, book cover, article, etc.

ที่มาและความสำคัญของการฝึกอบรม

ในปัจจุบันนวัตกรรมมีส่วนสำคัญอย่างมากในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันสำหรับองค์กรธุรกิจสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในองค์กร และการขับเคลื่อนนวัตกรรม บุคลากรจึงควรเข้าใจแนวความคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการ ตลอดจนนวัตกรรมการบริการ

หลักสูตรนี้ออกแบบเพื่อสร้างผู้นำนวัตกรรมขึ้นในองค์กรโดยใช้ “แนวความคิดเชิงออกแบบ” หรือ ”Design Thinking” ที่เป็นกระบวนการคิดที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน Design Thinking ใช้การทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง โดยเอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และนำเอาความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากหลายคนมาร่วมสร้างไอเดีย และเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ  ที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้

และที่สำคัญทาง KCT จะออกแบบเคสกรณีศึกษาและแนวทางการสอนให้เข้ากับบริบทขององค์กรของลูกค้ามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการ ตลอดจนนวัตกรรมการบริการ  เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติกับงานจริงได้มากที่สุด

นอกจากนี้ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจไม่เพียงแต่รุนแรงขึ้นเท่านั้นแต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการของลูกค้า องค์กรที่จะมีความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันควรจะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมอีก 1 ประการคือ “การปรับตัวอย่างรวดเร็ว”

 “Agile” เป็นทั้งวัฒนธรรมการทำงานและมีกระบวนการที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มีจุดเริ่มมาจากโครงการนวัตกรรมและโครงการพัฒนา Software โดยเป็นแนวทางที่มุ่งเน้นให้องค์กรมีการทำงานแบบปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดย Agile เริ่มตั้งแต่การปรับวัฒนธรรม การปรับความคิดการทำงาน การตั้งเป้าหมาย การจัดระบบองค์กรและทำงาน เราจะเห็นการใช้การทำงานแบบใหม่คือการทำงานแบบ “Scrum” จะโดยขจัดข้อเสียจากการวางแผนงานด้วย Project Management Waterfall แบบเก่า มีการจัดตั้ง Scrum Team การร่าง Backlog การทำ Sprint และการเขียน Retrosepctive เป็นต้น

แนวทางการทำงานแบบ Agile เมื่อนำมาผนวกกับแนวความคิดเชิงออกแบบ จะทำให้การสร้างนวัตกรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในทางปฏิบัติ รวมถึงการใช้แนวคิด “Lean Startup” (Eric Ries, 2018) เป็นอีกแนวความคิดหนึ่งที่มักจะถูกนำเสนอต่อจาก Design Thinking นำเสนอแนวทางการคัดเลือกไอเดียนวัตกรรมและนำไปสร้างเป็นโครงการนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว แนวความคิดที่นำเสนอคือ Minmimum Viable Product (MVP) เน้นการริเริ่มโครงการอย่างรวดเร็ว

การอบรมครั้งนี้จะนำรูปแบบของ Design Thinking + Agile Process ทำให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจในรูปแบบการทำงานครบวงจรได้อย่างรวดเร็วผ่านการบรรยายและ Workshop

วัตถุประสงค์: Design Thinking และ Agile Process

 

เพื่อให้ผู้ร่วมอบรม มีความคิดเชิงนวัตกรรม สามารถสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆให้องค์กรได้ดียิ่งขึ้น การอบรมจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงหลักการของนวัตกรรม รูปแบบต่างๆของนวัตกรรมก่อน ในวันแรกจะเน้นพื้นฐานจุดเริ่มของนวัตกรรมคือการคิด (Thinking) จากนั้นจึงเริ่มจากการออกแบบนวัตกรรม หลักสูตรอบรมการออกแบบให้เป็น Workshop ในรายละเอียดทีละขั้นตอน โดยมีวัตถุประสงคดังนี้

  1. ทำให้ผู้ร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับ แนวคิดการสร้างนวัตกรรม รูปแบบนวัตกรรมแบบต่างๆ กาขับเคลื่อนนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในองค์กร จะเป็นโมเดลแนวความคิดเชิงนวัตกรรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
  2. ทำให้ผู้ร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวความคิดเชิงออกแบบ Design Thinking
  3. ทำให้ผู้ร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการทำงานแบบ Agile Process

 

หัวข้อการฝึกอบรม

วันที่ 1

Sessionช่วงเวลารายละเอียดเนื้อหา
19:00-10:30 น.ความรู้เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมและรูปแบบนวัตกรรมแบบต่างๆ

– ปูพื้นฐานให้ผู้อบรมเข้าใจถึง ลักษณะของนวัตกรรม แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม ประเภทของนวัตกรรมต่างๆ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการบริการ ลักษณะองค์กรที่เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม

– เนื้อหาในส่วนนี้ เน้นที่ Case Study จะทำให้ผู้ร่วมอบรมเห็นถึงตัวอย่างนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและแนวความคิดของนวัตกรรมเหล่านั้นอย่างรวดเร็ว

210.45-12:00 น. Workshop # 1การออกแบบนวัตกรรม Design Thinking (Empatize)

-เริ่ม Workshop กระบวนการออกแบบนวัตกรรมตามหลักของDesign Thinking  “การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างถ่องแท้” และระบุความต้องการที่ซ่อนอยู่ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

Workshop #2 การออกแบบนวัตกรรม Design Thinking (Define)

ขั้นตอนการตั้งปัญหาโจทย์นวัตกรรม ผู้จัดอบรมและทีมงานจะให้โจทย์ตัวอย่างที่สอดคล้องกับธุรกิจของผู้เข้าอบรม

313:00-14.45 น.Workshop #3 การระดมสมอง (Ideate)

-ขั้นตอนการระดมสมองงการอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนความคิด (Thinking Approaches) แบบต่างๆ

 

415:00-16:30 น.คัด Workshop #4 คัดเลือกนวัตกรรม(Ideate Selection)

วิธีการคัดเลือกสิ่งที่สามารถทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นไปได้ด้วยวิธี Minimal Viable Product (MVP) ด้วยมุมมองต่างๆ ในขั้นนี้จะอธิบายเกณฑ์ที่จะใช้การคัดเลือกโครงการนวัตกรรมด้วยแนวความคิด Lean Startup

 

วันที่ 2

Sessionช่วงเวลารายละเอียดเนื้อหา
19:00-10:15 น.แนวคิดการทำงานด้วย Agile

·       หลักการของ Agile และการ Implement โครงการนวัตกรรม

·       แนวคิดการทำงานแบบ Waterfall และ Agile& Scrum ความแตกต่างของทีมทำงานการจัดตำแหน่งและหน้าที่

Mini Workshop Work shop #5  เพื่อให้เห็นภาพการวางแผนงานแบบ Agile and Scrum

210:30-12:00 น. แนวคิดการทำงานด้วย Agile & Scrum

Workshop #6 เพื่อให้เห็นภาพการวางแผนงานแบบ Scrum ด้วย การสร้าง “Scrum Sprint Backlog” Workshop นี้จะทำให้ผู้อบรมเข้าใจกระบวนการทั้งหมดได้ง่ายและรวดเร็ว

313:00-14.30 น.Workshop #7 การสื่อสารโครงการนวัตกรรมและ การนำเสนอผลงาน

-แนวทางการนำเสนอผลงานที่ดีสามประการคือ การเล่าเรื่อง การนำเสนอด้วยภาพ และการพูดนำเสนอ (Story Telling/ Visual Communication/ Pitching ) หลักสามประการนี้ทำให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพ Workshop นี้จะให้ผู้ร่วมอบรมเตรียมการนำเสนอโครงการ

 

414:45-16:30 น.Pitching and Wrap Up

ให้ผู้ร่วมอบรมขึ้นนำเสนอผลงานตามเวลาที่กำหนดโดยเหมือนกับการนำเสนอผลงานเชิงนวัตกรรมจริง และวิทยากรทำการ Comment เพื่อปรับปรุงการนำเสนอ กระบวนการทั้งหมดนี้จะทำให้ผู้ร่วมอบรมพร้อมที่จะคิด สร้าง และนำเสนอโครงการนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  • ผู้บริหาร
  • ผู้จัดการ
  • หัวหน้างาน

(จำนวนประมาณไม่เกิน 30 คน)

 

ระยะเวลาการฝึกอบรม

ระยะเวลาการฝึกอบรม 2 วัน

 

แนวทางที่ใช้ในการอบรม

แนวทางการสัมมนาและรูปแบบการเรียนรู้ : ทฤษฎี 20 : ปฏิบัติ 80

บรรยาย  ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม

กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด    ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”

ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ    เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” มากยิ่งขึ้น

การเสวนาตีความ  วิเคราะห์เพื่อเข้าใจให้เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้

 

  • การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) ด้วยวิธีการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
  • เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้ความรู้ พร้อม VDO ประกอบการบรรยาย, กิจกรรมกลุ่มการระดมความคิด (Brainstorming) , การฝึกปฏิบัติการ (Work Shop), กรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) และ การนำเสนอ (Presentation) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

Ready to join our knowledge castle?

Find the right program for your organization and achieve your goals today

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save