In-House Training Courses
Thinking & Decision Making
Critical Thinking for pro-active problem solving

หลักการ/แนวคิด
การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) หมายถึง กระบวนการรับรู้และคิดแยกแยะ เรื่องราว เหตุการณ์ ข่าวสาร ความรู้ แนวความคิด ปรากฏการณ์ และทฤษฎีต่าง ๆ โดยมีการศึกษาที่เป็นคุณ เป็นโทษ เป็นประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ ต่อการทำงาน และการดำรงชีวิตประจำวัน
การคิดเชิงวิพากษ์ เป็นผลของกระบวนการที่เกิดจากได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ผนวกด้วยประสบการณ์หรือความรู้เดิมที่มีอยู่ แล้วใช้สติปัญญาที่มีอยู่เดิมตัดสินใจ เชื่อทั้งหมด เชื่อบางส่วน หรือไม่เชื่อ สิ่งที่เห็น เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง สิ่งของ วัสดุที่ได้สัมผัส ว่าเป็นอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่
ทฤษฎีด้านการคิดเชิงวิพากษ์มีพื้นฐานมาจากผลงานของ เบนจามิน บลูม (Benjamin Bloom) ในปี 1956 ที่ได้จัดหมวดหมู่พฤติกรรม การเรียนรู้ด้านสติปัญญา โดยพัฒนาวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ให้ชัดเจน และให้ครูทดลองปฏิบัติในการสอนเป็นเวลาสองทศวรรษ แนวความคิดของเขาเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และใช้สอนในโปรแกรมการฝึกหัดครูทั่วสหรัฐอเมริกาจนถึงปัจจุบัน ในประเทศอื่นรวมทั้งประเทศไทยก็นำแนวคิดของบลูม มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเช่นเดียวกัน
บลูม ได้แบ่งพฤติกรรมการเรียนรู้ ออกเป็น 6 ประเภท จากระดับแรกที่เรียกว่า ความรู้ จนถึงระดับของการประเมิน แต่ละประเภท เกี่ยวกับ การวิเคราะห์และประเมินข้อมูลที่ซับซ้อน ที่ใช้ความสามารถทางสติปัญญาในระดับสูง และเพื่อให้สอดคล้องกับ พฤติกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว บลูมได้แบ่งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเป็น 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบลูม
ความรู้ (Knowledge) – เน้นการจำและการอ้างอิงข้อมูล คำกริยาเชิงพฤติกรรมที่ใช้ เช่น ระบุ บอกรายการ บอกชื่อ ตั้งชื่อ ให้คำจำกัดความ บอกแหล่งที่ตั้ง จับคู่ จำได้ และทำใหม่
ความเข้าใจ (Comprehension) – เน้นการเชื่อมโยงและจัดการข้อมูลที่ได้เรียนมา คำกริยาที่ใช้ เช่น อธิบาย เชื่อมโยง กำหนดหลักเกณฑ์ สรุป พูดใหม่ เรียงข้อความใหม่ สาธิต
การประยุกต์ใช้ (Application) – เน้นการใช้ข้อมูล โดยการนำเอากฎหรือหลักการมาประยุกต์ใช้ คำกริยาที่เกี่ยวข้องเช่น แก้ปัญหา เลือก ตีความ ทำ สร้าง เอามาไว้ด้วยกัน เปลี่ยน ใช้ ผลิต แปล
วิเคราะห์ (Analysis) – เป็นการคิดเชิงวิเคราะห์ส่วนประกอบและหน้าที่ของสิ่งต่างๆ คำกริยาที่ใช้ เช่น วิเคราะห์ เปรียบเทียบ จัดประเภท แยกส่วนประกอบ หาข้อแตกต่าง สำรวจ แบ่งเป็นส่วยย่อย แยกแยะ หาข้อขัดแย้ง
สังเคราะห์ (Synthesis) – เน้นการคิดในการนำเอาส่วนประกอบปลีกย่อยหรือรายละเอียดมารวมกันสร้างสิ่งใหม่ คำกริยาที่เกี่ยวข้อง เช่น ประดิษฐ์ สร้าง(Create) รวมกัน ตั้งสมมุติฐาน วางแผน ริเริ่ม เพิ่มเติม จิตนาการ ทำนาย
การประเมิน (Evaluation) – เน้นการประเมินและการตัดสินโดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน คำกริยาที่ใช้ เช่นประเมิน(Assess) แนะนำว่าดี (Recommend) วิพากษ์วิจารณ์ หาข้อดีและข้อเสีย ให้น้ำหนัก และตัดสินคุณค่า
คำ Critical thinking นี้ นอกจากจะหมายถึง การคิดเชิงวิพากษ์ แล้ว ในอีกความหมายหนึ่งยังใช้ว่า การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง หลักการคิดประเภทหนึ่งที่เน้นกระบวนการพิจารณาและประเมินข้อมูลหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คิดทุกด้านอย่างรอบคอบ โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนด หลักเหตุผล จนได้คำตอบที่เหมาะสมหรือดีที่สุดเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจ หรือประเมิน หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เป็นกระบวนการคิดที่มีปัญญาเป็นตัวนำ
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นกระบวนการคิดที่ใช้ปัญญาขั้นสูงนำหน้าค้นหาความจริง โดยพิจารณาใคร่ครวญสืบสาวจากเหตุไปหาผลหรือจากผลไปหาเหตุจนเห็นความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงย่างละเอียดถี่ถ้วน และเตรียมตัวแก้ปัญหาต่าง ๆ หากไม่มีการคิดที่รัดกุม โอกาสพลาดพลั้งก็มีมาก ไม่ว่างานนั้นจะเป็นชิ้นเล็กหรือใหญ่แค่ไหน การคิดวิพากษ์อย่างมีวิจารณญาณอย่างรัดกุม นั้น มีผลดีต่อการทำงานและพัฒนาตัวเองอย่างมาก เพราะความรอบคอบเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ
วัตถุประสงค์
- ทำให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการคิดวิพากษ์และแนวทางหลักในการการนำหลักคิดมาใช้แก้ปัญหาต่างๆให้ประสบความสำเร็จ
- ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจถึงประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง และเป็นการกระตุ้นให้เกิดคำถามอยู่เสมอ ให้สงสัยในสิ่งที่ได้ยิน ได้เห็น ได้อ่าน และสำรวจความคิดของตนเอง กับการจัดการงาน และ การวางแผนการทำงานเชิงรุก
- ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจหลักการใช้เหลักคิดและกระบวนการคิดวิพากษ์เพื่อแก้ปัญหาเชิงรุกและการนำหลักคิดไปใช้ในการดำเนินงาน
เนื้อหาการเรียนรู้
ส่วนที่1. เข้าใจหลักคิดเชิงวิพากษ์ เพื่อการแก้ปัญหาเชิงรุก
- กระบวนการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา
- ยุทธวิธีการคิดวิพากษ์ เพื่อวิเคราะห์ ประเมินปัญหา และตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
- การระบุและคิดทบทวนปัญหา (Redefine the problems)
- คิดอย่างมีวิจารณญาณ (Adopt a critical perspective)
- ใช้หลักการของเหตุผล (Use analogies)
- คิดหลากหลาย (Think divergently)
- ใช้แนวคิดแบบองค์รวม (Use heuristics)
- ทดลองแก้ปัญหาหลายๆ แบบ (Experiment with various solutions)
ส่วนที่ 2. วิธีการฝึกทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ เพื่อกระตุ้นให้ค้นหาตำตอบที่แท้จริงเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- การรู้จักสังเกตและสงสัย ข้อเท็จจริงและความคิดเห็น ตรรกะและ เหตุผลวิบัติ
- เทคนิคการตั้งคำถาม: หัวใจสำคัญของการคิดเชิงวิพากษ์
- การถามแบบโสเครติค (Socratic Questioning)
- การถามแบบอุปมาน (Inductive Questioning)
- การถามแบบอนุมาน (Deductive Questioning)
- การรับฟังอย่างมีวิจารณญาณและการโต้แย้งด้วยเหตุผล
- แนวทางในการวัดหรือประเมินผลทักษะการคิดเชิงวิพากษ์
- ประยุกต์การคิดเชิงวิพากษ์กับการทำงานเพื่อการแก้ปัญหาเชิงรุกและการทำงานอย่างมีความหมาย (Meaningful working)
กลุ่มผู้เข้าอบรม
- ผู้นำและผู้บริหารขององค์กร
- บุคลากรในระดับหัวหน้างาน
- พนักงานทั่วไปที่มีความสนใจ
Business Framework
(หลักที่นำมาใช้ประกอบการบรรยาย)

กิจกรรมและWorkshop
Inspiring Workshop: กิจกรรมสำรวจความคิดของตนเองต่อความท้าทายของธุรกิจในยุคดิจิตอล เปิดโอกาสให้อภิปรายแสดงความเห็นอย่างอิสระในลักษณะ ระดมสมองพร้อมกับยอมรับความคิดเห็น ของทุกคน
แนวทางการสอนและรูปแบบการเรียนรู้
ทฤษฎี 30% : ปฏิบัติ 70%
- บรรยาย : ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม
- กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด : ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”
- ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ : เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” ยิ่งขึ้น
- การเสวนาตีความ : ฝึกวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้
การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่และการฝึกประสบการณ์ (Adult Learning & Experiential Learning) ด้วยวิธีการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้มุมมองหลักคิดผ่านกิจกรรมกลุ่ม และเดี่ยว การฝึกปฏิบัติการ (Work Shop), กรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง




Ready to join our knowledge castle?
Find the right program for your organization and achieve your goals today