fbpx

In-House Training Courses

Thinking & Decision Making

Critical Thinking and Complex Problem Solving

หลักสูตรโดย KCT Academy

ที่มาและความสำคัญของการฝึกอบรม

การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking:

การคิดเชิงวิพากษ์ คือ การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของความเสี่ยงหรือประเด็นปัญหาตามข้อเท็จจริง ข้อมูลและหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยปราศจากอิทธิพลจากความรู้สึกส่วนตัว ความคิดเห็น หรืออคติ กล่าวคือ มุ่งเน้นไปยังข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงเพียงอย่างเดียวและใช้หลักตรรกะเหตุผล ความเชื่อมโยงต่อเนื่อง ความเป็นระเบียบในการทำให้เป็นเหตุเป็นผล การวิเคราะห์ การประเมินและการตีความเพื่อเกิดการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มความเข้าใจ ไม่ใช่เพียงความรู้

ในหลักสูตรนี้ คุณจะได้เรียนรู้และฝึกฝนถึงแนวทางการใช้ความคิดเชิงวิพากษ์อย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อแก้ปัญหา วิเคราะห์แนวโน้ม และระบุขอบเขตประเด็นปัญหาที่ต้องการพัฒนาปรับปรุง โดย คุณต้องมั่นใจว่าการวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ต่างๆ ของคุณนั้นครอบคลุมทุกประเด็นและยึดคุณภาพเป็นหลัก มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สามารถใช้สำหรับโต้แย้งในประเด็นและความเสี่ยงต่างๆ ที่น่าจะเกิดขึ้นมากที่สุดได้อย่างเต็มรูปแบบและเป็นธรรมเพื่อที่จะบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้เรื่องการคิดเชิงวิพากษ์ ซึ่งผลสัมฤทธิ์สำคัญของกระบวนการนี้ คือ การสร้างการประเมินที่หนักแน่นด้วยเหตุและผลได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ว่าปัญหาคืออะไร อะไรคือสาเหตุของปัญหาและวิธีการใดเป็นวิธีที่มีประสิทธิผล สมเหตุสมผลในการแก้ไขปัญหามากที่สุด

ในตอนท้ายของการฝึกอบรมนี้ คุณจะสามารถกำหนดและวางกรอบของปัญหาได้ผ่านการระบุบริบทปัญหา นั่นคือ การใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์และความคิดเชิงวิพากษ์เพื่อพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมและใช้การได้จริง

นิยามศัพท์ที่สำคัญ (Key Terminology)

ความเสี่ยง: ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการตระหนักที่จะเกิดขึ้นได้ เป็นปัญหาที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นเสมือนภัยคุกคาม

ประเด็นปัญหา: ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ เป็นประเด็นที่เกิดในปัจจุบัน

การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking: 

การคิดเชิงวิพากษ์ คือ การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของความเสี่ยงหรือประเด็นปัญหาตามข้อเท็จจริง ข้อมูลและหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยปราศจากอิทธิพลจากความรู้สึกส่วนตัว ความคิดเห็น หรืออคติ กล่าวคือ มุ่งเน้นไปยังข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงเพียงอย่างเดียวและใช้หลักตรรกะเหตุผล ความเชื่อมโยงต่อเนื่อง ความเป็นระเบียบในการทำให้เป็นเหตุเป็นผล การวิเคราะห์ การประเมินและการตีความเพื่อเกิดการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มความเข้าใจ ไม่ใช่เพียงความรู้

การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking):

การคิดเชิงสร้างสรรค์ คือ การมองหาบางสิ่งบางอย่างด้วยวิธีการใหม่หรือมุมมองที่สดใหม่ (เช่นเดียวกันกับการคิดนอกกรอบ) เพื่อที่จะคิดสิ่งใหม่หรือสิ่งที่เป็นต้นฉบับ เป็นจุดเริ่มต้น โดยต้องอาศัยการเปิดใจกว้างเพื่อที่จะพัฒนาแนวทางหรือวิธีการอันไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งใดๆ ทั้งในอดีตและเหตุการณ์ปัจจุบัน

การคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการคิดแบบยืดหยุ่น ไหลลื่น และเน้นการริเริ่ม ซึ่งรูปแบบเหล่านี้มักจะใช้วิธีการกำหนดกรอบใหม่ (Reframing) การทำงานกับแนวคิดหรือสิ่งที่เป็นนามธรรม (Abstraction) การระดมความคิด (Brainstorming) การทำแผนผังความคิด (Mind Mapping) การคาดคะเนและการคิดที่แตกต่าง (Conjecture and Divergent Thinking) หรือการยอมรับแนวคิดและสมมติฐานที่คิดต่างและท้าทาย

การตัดสินใจ Decision Making:

การตัดสินใจคือกระบวนการของการเลือกด้วยการระบุความเสี่ยง/ประเด็น การรวบรวมข้อมูล และการประเมินวิธีการแก้ปัญหาทางเลือก โดยพิจารณาจากเสียงตอบรับและข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล      โดยทั่วไป ตัวแบบหรือแบบจำลองการตัดสินใจที่เป็นทางการ ถูกเรียกว่า ตัวแบบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ซึ่งพิจารณาปัจจัยนำเข้า วิเคราะห์และประเมินผลลัพธ์เพื่อตัดสินใจว่าจะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบใด

ข้อจำกัด Constraints:

มีข้อจำกัดที่ถูกออกแบบมาเพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ (เช่น การพิจารณาเพื่อหาคำตอบที่ชัดเจน)

ตรรกะวิบัติ Logical Fallacy:

ตรรกะวิบัติ คือ ความบกพร่องในการใช้เหตุผล เนื่องมาจากอคติหรือการถูกล้างสมองอย่างหยั่งรากลึก

การระบุ/การแยกแยะ Identification:

ขั้นตอนแรกของการแก้ปัญหาโดยใช้การคิดเชิงวิพากษ์ คือ การระบุสถานการณ์และตัวแปรหรือปัจจัยที่ส่งผลกระทบ โดยเป้าหมายหลัก ก็เพื่อจะระบุปัญหา สาเหตุของปัญหา และความแตกต่างของลักษณะปัญหาที่เกิดจากสาเหตุที่ต่างกันให้ได้

การนิยาม/ให้คำจำกัดความ Definition:

การนิยามหรือการให้คำจำกัดความ คือ การอธิบาย/กล่าวถึงความเสี่ยง/ประเด็นปัญหา และผลกระทบที่มีต่อระบบ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการระบุช่องว่างระหว่างสถานะปัจจุบันกับสถานะที่พึงประสงค์ด้วย นอกจากนี้ กระบวนการขั้นนี้ยังช่วยกำหนดตัวเลือกที่ใช้ประโยชน์ได้จริงและหลีกเลี่ยงแนวทางแก้ปัญหาแบบเร่งด่วน สุดท้าย สิ่งจำเป็นที่ต้องมีในการนิยามคือ การกำหนดและระบุกฎเกณฑ์ที่จะใช้ในการตัดสินใจ

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)

จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส แรงกดดัน/ภัยคุกคาม คือ ตัวช่วยในการระบุแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้

ข้อโต้แย้ง (Arguments):

คำกล่าว/รายงานของข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปที่เป็นกลางและชักจูงโน้มน้าวใจได้

การวิเคราะห์ Analysing:

การแยกหรือแบ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อหาลักษณะธรรมชาติ หน้าที่และความสัมพันธ์

การระบุอคติ Identifying Biases:

ทักษะการระบุอคตินี้เป็นเรื่องยากมาก เพราะอคติเป็นเสมือนเมล็ดพันธุ์พืชที่ถูกฝังรากลึกมาเป็นระยะเวลานานในแต่ละคนและเป็นการยากที่คิดยอมรับและเข้าใจในอคติของตน โดยแก่นของการพิจารณาทักษะนี้ คือ ประเมินข้อโต้แย้งจากทุกด้านในขณะที่คำนึงถึงอคติที่อาจมีในแต่ละด้านไปด้วย และเพราะอคติส่วนบุคคลอาจถูกใช้ในกำหนดการวินิจฉัยของคนๆ หนึ่ง รวมถึงข้อสมมติบางประการที่มักถูกใช้ในการสร้างข้อโต้แย้ง จึงเป็นการยากอย่างยิ่งที่จะเรียนรู้ถึงวิธีการแยกอคติส่วนตัวบุคคลออกจากข้อโต้แย้งที่มี

การกำหนดความเกี่ยวข้อง Determining Relevance:

ส่วนนี้เป็นส่วนที่ท้าทายมากที่สุดในการคิดเชิงวิเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ท้าทาย เนื่องจาก เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาว่าข้อมูลใดที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญสำหรับการพิจารณากำหนดข้อโต้แย้ง

การใช้มาตรฐาน Applying Standards:

การประเมินปัญหา (ความเสี่ยง/ประเด็นปัญหา) ตามกฎระเบียบ/เกณฑ์ ที่สร้างขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นแบบส่วนตัว ส่วนบุคคล ตามความเป็นมืออาชีพ หรือตามที่สังคมกำหนดไว้

การค้นหาข้อมูล Information Seeking:

การค้นหาหลักฐาน ข้อเท็จจริง ความรู้ โดยการระบุแหล่งที่มาที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และในปัจจุบัน จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่

รากแห่งปัญหา-สาเหตุที่แท้จริง (Root Cause):

รากแห่งปัญหาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ก่อให้เกิดปัญหา นั่นคือ เป็นสิ่งที่ทำให้หยุดปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

วัตถุประสงค์

  1. สามารถแยกแยะความเสี่ยงหรือประเด็นปัญหาที่เป็นองค์ประกอบหลักเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการวิเคราะห์ได้
  2. ระบุความคิดและแนวคิดที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและการตัดสินใจบนความสัมพันธ์
  3. เข้าใจความแตกต่างระหว่าง คิดอย่างไร กับ คิดอะไร
  4. เข้าใจความแตกต่างระหว่างความเสี่ยงและประเด็นปัญหา
  5. เข้าใจว่าการคิดเชิงวิพากษ์คืออะไรคิ และจะใช้ประโยชน์อย่างไรเพื่อสร้างแนวทางแก้ปัญหาดั้งเดิม
  6. ระบุตรรกะวับัติและอคติจากองความรู้เพื่อสร้างแนวทางแก้ปัญหาที่ดีกว่าได้
  7. เข้าใจวิธีการใช้กระบวนการผสมผสานในการจัดการทางธุรกิจ การแก้ปัญหาและการพยากรณ์หรือการคาดการณ์

หัวข้อการฝึกอบรม

Sessionรายละเอียดเนื้อหา
วันที่ 1

09.00 -12.00

·          Critical Thinking คืออะไร

·          นิยามปัญหา วิธีรวบรวมข้อมูล วิธีการสังเกต

·          การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ข้อคิดเห็น ข้อเท็จจริง

·          ระบุประเด็นปัญหา ต้นเหตุของปัญหา

·          วิเคราะห์สถานการณ์ของปัญหา ระดับความรุนแรง ผลกระทบของปัญหาในมิติของเวลา สถานที่

วันที่ 1

13.00 -16.00

·          ค้นหาไอเดียที่จะแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการใช้ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงบูรณาการมาหาทางออกในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย

·          การเลือกทางออกที่ดีที่สุดที่จะใช้แก้ปัญหา

วันที่ 2

09.00 -12.00

·          การบริหารปัจจัยนำเข้า-กระบวนการ-ผลลัพธ์

·          ระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและการปรับปรุง Select & Add on or Reprocess

วันที่ 2

13.00 -16.00

·          การประเมินและการออกแบบตัวชี้วัด Sustainable & Feasible

·          การนำเสนอและแนวทางการนำไปใช้

กิจกรรมWorkshop1. อะไรคือข้ออ้าง/ข้อเท็จจริง/ข้อคิดเห็น/ความจริง/ความเชื่อ

Workshop2 สรุปประเด็นของปัญหา ล้อมกรอบปัญหาเพื่อระบุประเด็นที่จะเริ่มต้นแก้ไข

Workshop3 ฝึกทดลองแก้ปัญหาหลายๆ แบบ (Experiment with various solutions) ยุทธวิธีการคิดวิพากษ์ เพื่อวิเคราะห์ ประเมินปัญหา และตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

o   ใช้หลักการของเหตุผล (Use analogies)

o   คิดหลากหลาย (Think divergently)

o   ใช้แนวคิดแบบองค์รวม (Use heuristics)

Workshop4 ประยุกต์การคิดเชิงวิพากษ์กับการทำงานเพื่อการแก้ปัญหาเชิงรุกและการทำงานอย่างมีความหมาย (Meaningful working) อะไรคือสิ่งที่จะDisrupt ยอดขายประกันวินาศภัยในอีก 2 ปีข้างหน้า

Workshop5  ประเมินและปรับปรุงไอเดีย

Workshop6 การสื่อสารและนำเสนอผลงานเพื่อการนำไปใช้

 

ทฤษฎีและเครื่องมือที่ใช้

ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ผู้เกี่ยวข้องในระดับบริหาร จำนวน 30 คน

ระยะเวลาการฝึกอบรม

ระยะเวลาการฝึกอบรม 2 วัน (ได้เนื้อหาครบ และมีการทำ Workshop)

แนวทางที่ใช้ในการอบรม (วิธีการฝึกอบรม)

แนวทางการสัมมนาและรูปแบบการเรียนรู้ : ทฤษฎี 30 : ปฏิบัติ 70

บรรยาย                             ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม

กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด       ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”

ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ     เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” มากยิ่งขึ้น

การเสวนาตีความ                  วิเคราะห์เพื่อเข้าใจให้เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้

  • การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) ด้วยวิธีการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
  • เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้ความรู้ พร้อม VDO ประกอบการบรรยาย, กิจกรรมกลุ่มการระดมความคิด (Brainstorming) , การฝึกปฏิบัติการ (Work Shop), กรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

Ready to join our knowledge castle?

Find the right program for your organization and achieve your goals today

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save