fbpx

In-House Training Courses

Thinking & Decision Making

Analytical Thinking

วิทยากรประจำ KCT Academy

Design course by   Mr. Denis Billette

Busissness Systems Specialist &
Business Intelligence Analyst

ภาพรวมหลักสูตร (Course Overview)

ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์เป็นสินทรัพย์ที่มีค่าทั้งในทางส่วนตัวและทางธุรกิจ ไม่ว่าอาชีพของคุณคืออะไร หรือตำแหน่งปัจจุบันคุณอยู่ในระดับไหน การรู้วิธีปรับประยุกต์ใช้การคิดเชิงวิเคราะห์จะสร้างประโยชน์ต่อบริษัทและองค์กรที่คุณอยู่หรือทำงานให้ จนนำไปสู่การได้รับการสนับสนุน เลื่อนตำแหน่งและได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น

เรื่องของตรรกะและการวิเคราะห์นั้นมีความเป็นสากล กล่าวคือ มีความสำคัญในทุกพื้นที่ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน จำเป็นในทุกความสัมพันธ์ ทั้งครอบครัว เพื่อน หรือแม้กระทั่งกับเด็กๆ

โดยทั่วไป การแก้ปัญหาใดๆ จำเป็นต้องใช้การคิดเชิงวิเคราะห์ในบางระดับเสมอ ซึ่งขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์ที่พบได้บ่อย เช่น การจัดการ การแก้ไขปัญหา การสื่อสาร การประมาณงบประมาณ การรายงาน การวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การวินิจฉัย ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ จึงกลายเป็นโอกาสที่ทำให้คุณมีทักษะพื้นฐานของการคิดเชิงวิเคราะห์อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ในหลักสูตรนี้ คุณจะได้เรียนรู้วิธีการระบุทักษะที่มีในตัวคุณ รวมถึงวิธีการพัฒนาทักษะเหล่านั้น เพื่อสามารถปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อองค์กรและชีวิตของคุณเอง นอกจากนี้ คุณจะได้เรียนรู้ถึงวิธีการนำทักษะเหล่านี้ไปใช้จนคุณกลายเป็นนักแก้ไขปัญหาที่เก่งขึ้น และทำให้คุณเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น โดยเป้าประสงค์ของหลักสูตรนี้ คือ พัฒนาศักยภาพและความสามารถของคุณเพื่อที่จะสามารถระบุ วิเคราะห์ ตั้งคำถาม ประเมินผล และมองภาพรวมเพื่อเสริมสร้างแนวคิดวิเคราะห์ที่อิสระเสรีได้

แนวคิดสำคัญ (Key Concept)

ทุกสิ่งมีชีวิตที่เคยมีมาและที่ยังคงอยู่ล้วนมีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ในบางระดับ แม้ว่าจะเป็นสัญชาติญาณอย่างเข้มข้นก็ตาม (เช่น ความปรารถนาที่จะมีชีวิตรอด) ซึ่งเป็นความสามารถที่ธรรมดาเมื่อเทียบกับมนุษย โดยสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งอื่นๆ คือ ความสามารถในการหาสาเหตุของปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาผลกระทบของปัญหา และนี่คือแนวคิดหลักที่สำคัญ คือ การใช้ชุดทักษะที่ได้รับการตกทอดมาพัฒนาและปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาชีวิตและปัญหาทางธุรกิจ

นิยามศัพท์สำคัญ (Key Terminology)

การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)

โดยนัยแล้ว การคิดเชิงวิเคราะห์เกี่ยวข้องกับการใช้การวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์เพื่อกำหนดหรือสร้างแนวทางสำหรับแก้ปัญหา โดยใช้วิธีการตามหลักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบข้อมูลที่อยู่เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุและผลกระทบ รวมทั้ง ใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจ

การวิเคราะห์ (Analysis)

การวิเคราะห์เป็นการตรวจสอบอย่างละเอียดและเป็นระบบและเป็นการประเมินองค์ประกอบหรือโครงสร้างของบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งมักจะมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความหมาย คุณสมบัติสำคัญ หรือสาเหตุที่แท้จริง อีกทั้งเกี่ยวข้องกับการแยกแยะหรือแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อที่จะพบความเป็นธรรมชาติที่แท้จริง ลักษณะการทำงาน และความสัมพันธ์ในสิ่งนั้นๆ

ข้อโต้แย้ง (Arguments)

คำกล่าวของข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปที่เป็นกลางและชักจูงโน้มน้าวใจได้ นับเป็นข้อโต้แย้งที่มีเหตุผล ซึ่งสาระสำคัญ ได้แก่ เหตุผลหรือชุดของเหตุผลที่ถูกกำหนดไว้ด้วยจุดประสงค์เพื่อโน้มน้าวผู้อื่นว่าการกระทำหรือความคิดนั้นถูกหรือผิด กล่าวคือ เมื่อเพิ่มองค์ประกอบใดๆ ที่สามารถปกป้องคำกล่าวเดิมได้ ก็นับว่าเป็นเหตุผลที่ผ่านการวิเคราะห์และการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างครอบคลุมแล้ว ทั้งนี้ โดยทั่วไป การกระทำและการตัดสินใจที่เป็นเหตุเป็นผลมากที่สุดขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในมือ

การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative-Thinking)

การคิดเชิงสร้างสรรค์ คือ การมองหาบางสิ่งบางอย่างด้วยวิธีการใหม่หรือมุมมองที่สดใหม่ (เช่นเดียวกันกับการคิดนอกกรอบ) เพื่อที่จะคิดสิ่งใหม่หรือสิ่งที่เป็นต้นฉบับ เป็นจุดเริ่มต้น โดยต้องอาศัยการเปิดใจกว้างเพื่อที่จะพัฒนาแนวทางหรือวิธีการอันไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งใดๆ ทั้งในอดีตและเหตุการณ์ปัจจุบัน

การคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการคิดแบบยืดหยุ่น ใหลลื่น และเน้นการริเริ่ม ซึ่งรูปแบบเหล่านี้มักจะใช้วิธีการกำหนดกรอบใหม่ (Reframingการทำงานกับแนวคิดหรือสิ่งที่เป็นนามธรรม (Abstraction) การระดมความคิด (Brainstorming) การทำแผนผังความคิด (Mind Mapping) การคาดคะเนและการคิดที่แตกต่าง (Conjecture and Divergent Thinking) หรือการยอมรับแนวคิดและสมมติฐานที่คิดต่างและท้าทาย

การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical-Thinking)

การคิดเชิงวิพากษ์ คือ การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของความเสี่ยงหรือประเด็นตามข้อเท็จจริง ข้อมูลและหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยปราศจากอิทธิพลจากความรู้สึกส่วนตัว ความคิดเห็น หรืออคติ กล่าวคือ มุ่งเน้นไปยังข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงเพียงอย่างเดียวและใช้หลักตรรกะเหตุผล ความเชื่อมโยงต่อเนื่อง ความเป็นระเบียบในการทำให้เป็นเหตุเป็นผล การวิเคราะห์ การประเมินและการตีความเพื่อเกิดการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด

การตัดสินใจ (Decision-Making)

การตัดสินใจคือกระบวนการของการเลือกด้วยการระบุความเสี่ยง/ประเด็น การรวบรวมข้อมูล และการประเมินวิธีการแก้ปัญหาทางเลือก โดยพิจารณาจากเสียงตอบรับและข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล

โดยทั่วไป ตัวแบบหรือแบบจำลองการตัดสินใจที่เป็นทางการ ถูกเรียกว่า ตัวแบบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ซึ่งพิจารณาปัจจัยนำเข้า วิเคราะห์และประเมินผลลัพธ์เพื่อตัดสินใจว่าจะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบใด

การแยกแยะปัญหา (Deconstruction of a Problem)

การแยกแยะปัญหาในบริบทของการคิดเชิงวิเคราะห์เป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการแยกย่อยปัญหาออกเป็นส่วนๆ อย่างเป็นระบบสู่องค์ประกอบสำคัญเพื่อการวิเคราะห์และประเมินผล

การกำหนดความเกี่ยวข้อง (Determining Relevance)

ส่วนนี้เป็นส่วนที่ท้าทายมากที่สุดในการคิดเชิงวิเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ท้าทาย เนื่องจาก เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาว่าข้อมูลใดที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญสำหรับการพิจารณากำหนดข้อโต้แย้ง

การประเมินผล (Evaluation)

การประเมินผลเป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามนโยบาย โครงการ หรือแผนงานเพื่อที่จะตัดสินและสรุปในประเด็นความคืบหน้า การบรรลุเป้าหมาย รวมถึงความคุ้มค่า หรือเป็นฐานในการตัดสินใจเพื่อการออกแบบนโยบาย โครงการต่างๆ และแนวคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ สำหรับนำไปใช้ต่อในอนาคต ซึ่งก่อให้เกิดเป็นโอกาสในการศึกษาเชิงลึกในสิ่งที่จะทำต่ออย่างเป็นระยะๆ

โดยทั่วไป การประเมินผล มีเกณฑ์คุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  • เป็นช่วงเวลาตามธรรมชาติ (มีรอบในการประเมิน)
  • เกี่ยวข้องกับการพิจารณาและตัดสินคุณค่าหรือมูลค่าของนโยบาย โครงการ หรือแผนงาน (ขึ้นอยู่กับความเป็นระบบข้อมูลและเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพสูง)
  • มุ่งเน้นไปที่วิธีการและสาเหตุที่ทำให้บรรลุผล
  • พิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดจากความตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ
  • ประเมินตามด้านเทคโนโลยี ทางกายภาพและลักษณะส่วนบุคคล

การระบุอคติ (Identifying Biases)

ทักษะการระบุอคตินี้เป็นเรื่องยากมาก เพราะอคติเป็นเสมือนเมล็ดพันธุ์พืชที่ถูกฝังรากลึกมาเป็นระยะเวลานานในแต่ละคนและเป็นการยากที่คิดยอมรับและเข้าใจในอคติของตน โดยแก่นของการพิจารณาทักษะนี้ คือ ประเมินข้อโต้แย้งจากทุกด้านในขณะที่คำนึงถึงอคติที่อาจมีในแต่ละด้านไปด้วย และเพราะอคติส่วนบุคคลอาจถูกใช้ในกำหนดการวินิจฉัยของคนๆ หนึ่ง รวมถึงข้อสมมติบางประการที่มักถูกใช้ในการสร้างข้อโต้แย้ง จึงเป็นการยากอย่างยิ่งที่จะเรียนรู้ถึงวิธีการแยกอคติส่วนตัวบุคคลออกจากข้อโต้แย้งที่มี

การอนุมานเพื่อหาข้อสรุป (Inference)

การอนุมาน คือ ข้อสรุปหรือความคิดเห็นที่ได้มาตามการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน หลักฐาน และการใช้เหตุผลจากข้อเท็จจริงหรือข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งนับว่าเป็น “การคาดเดาอย่างมีความรู้” ผู้คนเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยประสบการณ์โดยตรง แต่ทว่าสามารถรับความรู้ได้ด้วยการอ้างถึงหรือสรุปจากข้อมูลที่มีอยู่ เหมือนกับการอ่านหนังสือระหว่างบรรทัดหรือการมองดูข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบเพื่อหาข้อสรุป ทั้งนี้ การอนุมานก็สามารถนำไปสู่ข้อสรุปที่ผิดพลาดหรือการอนุมานบนฐานอคติหรือการใช้เหตุผลผิดได้ด้วย

ในการคิดเชิงวิเคราะห์ จะทำการอนุมานตามข้อมูลที่ให้ไว้ควบคู่ไปกับสามัญสำนึก (common sense) และประสบการณ์ชีวิตและการทำงาน ที่สามารถใช้เติมเต็มช่องว่างที่มีอยู่ จนนำไปสู่ข้อสรุปที่สมเหตุสมผลหรือข้อโต้แย้งที่หนักแน่นได้ในที่สุด

ตรรกะวิบัติ (Logical Fallacies)

ตรรกะวิบัติ คือ ความบกพร่องในการใช้เหตุผล เนื่องมาจากอคติหรือการถูกล้างสมองอย่างหยั่งรากลึก

การแก้ปัญหา (Problem-Solving)

การแก้ปัญหาเป็นกระบวนการหาทางออกสำหรับคำถามหรือสถานการณ์ที่ยากและซับซ้อน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทั้งในการกระทำและความคิดที่จำเป็นต่อการค้นหาวิธีการที่ดีและเหมาะสมที่สุดที่เป็นไปได้ โดยจำเป็นต้องใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ การวิจัย การวิเคราะห์ สามัญสำนึก เพื่อทลายปัญหาให้ราบคาบและประเมินองค์ประกอบทั้งหมดเพื่อสามารถระบุรากของปัญหาหรือสาเหตุที่แท้จริงและช่วยเอื้อข้อมูลในกระบวนการตัดสินใจต่อไปได้

การสร้างต้นแบบ (Prototyping)

การสร้างต้นแบบ เป็นวิธีที่ใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อสร้างแบบจำลองอย่างรวดเร็วสำหรับการทดสอบและการสำรวจแนวคิดพื่อพิสูจน์ความสามารถในความเป็นไปได้หรือการอยู่รอดและเปิดเผยข้อบกพร่องใดๆ ก่อนที่จะใช้ทรัพยากรมากเกินไปในการนำแนวคิดนั้นๆ ไปปฏิบัติจริง

โดยทั่วไป ต้นแบบ มักจะถูกเรียกว่า “แบบจำลอง (mock-up)” และสามารถเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่การร่างหรือออกแบบบนกระดาษจนไปถึงการจำลองเพื่อเลียนแบบการใช้งานจริงบนคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้การสร้างต้นแบบถูกมองว่าเป็นเรื่องของการประหยัดต้นทุนหรือเวลา

รากแห่งปัญหาสาเหตุที่แท้จริง (Root-Cause)

รากแห่งปัญหาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ก่อให้เกิดปัญหา กล่าวคือ ละเว้นอาการอย่างรวดเร็วและระบุแก่นของปัญหาเพื่อทำความเข้าใจและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม

ทางออก/แนวทางแก้ปัญหา (Solutions)

ทางออก คือ การตอบสนองเชิงตรระกะ เหตุผล หรือความสมเหตุสมผลที่สุดที่จำเป็นในการแก้ปัญหา ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น “คำตอบ” ของปัญหา ในการคิดเชิงเคราะห์ คำตอบคือผลลัพธ์ของการประเมินองค์ประกอบทั้งหมดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้รับความรู้ที่จำเป็นในการได้มาซึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่สมเหตุสมผลที่สุด นอกจากนี้ ทางออก ยังสามารถถูกมองให้เป็นสมมุตฐานได้ด้วย

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)

จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส แรงกดดัน/ภัยคุกคาม คือ ตัวช่วยในการระบุแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้

ทักษะจำเป็น/ความสามารถตามธรรมชาติสำคัญที่ส่งผลต่อการคิดเชิงวิเคราะห์

(The 8 Essential Skills/Natural Talents that Impact Analytical Thinking)

Common sense = สามัญสำนึก, Evaluating gathered information = การประเมินข้อมูลที่รวบรวมได้, Recognizing potential problems = การตระหนักถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น, problem solving = การแก้ปัญหา, Theoretical Evaluation (Prototyping) = การประเมินทางทฤษฎี (การสร้างต้นแบบหรือแบบจำลอง), Conceptual Thinking = การคิดเชิงมโนทัศน์, Intuitive decision making = การตัดสินใจตามการหยั่งรู้, Balanced decision making = การตัดสินใจที่สมดุล  

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective)

  1. เพื่อเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานของปัญหาและวิธีการทลายปัญหา

(Understand the fundamental elements of a Problem and how to break it down)

  1. เพื่อตระหนักและลดแรงความพยายามที่ต้องเสียเวลาไปกับการหาข้อบกพร้องในแนวทางแก้ปัญหา

(Recognize and eliminate efforts to waste time on finding blame over solutions)

  1. เพื่อเข้าใจจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหา

(Understand where to begin in order to solve a problem)

  1. เพื่อเข้าใจพื้นฐานของวิธีการทำงานของการคิดเชิงวิเคราะห์

(Understand the fundamental of how Analytical Thinking works)

  1. เพื่อมุ่งเรียนรู้วิธีการศึกษาตัวขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังปัญหาเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา

(Learn how to focus on the “drivers” behind the problem in order to get to the root-cause)

  1. เพื่อเรียนรู้แนวคิดจากการสกัดข้อมูลที่มีความหมาย (ถูกต้อง ดีงาม) คือ ข้อมูลที่รองรับแนวทางการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ

(Learn the concepts behind extracting meaningful information (with merit), that is qualitatively or quantitatively supports a solution/decision)

  1. เพื่อเข้าใจว่าจะหาข้อมูลได้จากที่ไหน อย่างไร และรู้ว่าวิธีคัดกรอง ตรวจสอบ รวมถึงการปรับประยุกต์ใช้ข้อมูลทำอย่างไร

(Understand where to dig, how to dig, how to filter, how to verify and how to apply)

  1. เพื่อเข้าใจความสำคัญของการใช้ตรรกะเหตุผลและการวิเคราะห์ในการหาทางออกที่เป็นไปได้สำหรับปัญหา

(Understand the importance of logic and analysis in finding viable solutions to problems)

  1. เพื่อเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ เช่น การระดมความคิดและการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เป็นต้น

(Learn how to apply tools and techniques such as brainstorming and root-cause analysis)

  1. เพื่อเรียนรู้วิธีการทดสอบและเสนอแนวทางแก้ปัญหาต้นแบบก่อนออกไปนำเสนอจริง

(Learn how to test and prototype proposed solutions prior to presenting them)

  1. เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างแนวทางแก้ปัญหาที่สมเหตุสมผล และสามารถป้องกันไว้ได้และวิธีการปกป้องแนวทางเหล่านั้นอย่างสงบและมั่นใจ

(Learn how to create defensible solutions, and then how to calmly and confidently defend them)

โครงร่างหลักสูตร (Course Outline)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ตรรกะ เหตุผล ข้อโต้แย้ง และการใช้เหตุผลแบบนิรนัย

  1. ตรรกะคืออะไร?
  2. การใช้เหตุผลคืออะไร และจะเป็นอย่างไรหากตรรกะไม่ได้ถูกนำไปใช้?
  • แบบฝึกหัด: จงเขียนอธิบาย/ทำเอกสารว่าตรรกะเหตุผลในที่ทำงานส่งผลต่อความรื่นไหลและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างไร?
  1. การใช้เหตุผลแบบนิรนัยคืออะไร?
  2. ข้อโต้แย้ง (ในทางวิทยาศสตร์) คืออะไร?
  3. ปัญหาคืออะไร?
  • Workshop: จงเขียนอธิบาย/ทำเอกสารเกี่ยวกับปัญหาทั่วไปในที่ทำงานที่ยังแก้ไม่ได้
  • ทางออกหรือแนวทางแก้ไขปัญหาคืออะไร?
  1. Workshop: จงเขียนอธิบาย/จัดทำเอกสารว่าปัญหาทั่วไปของคุณควรได้รับการการแก้ไขอย่างไร
  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการคิดเชิงวิเคราะห์ (Introduction to Analytical Thinking)
    1. การคิดเชิงวิเคราะห์คืออะไร
    2. 8 ทักษะจำเป็นที่ส่งผลต่อการคิดเชิงวิเคราะห์ คืออะไรบ้าง?
  • Workshop: ประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของทักษะสำคัญเหล่านี้
  1. ความแตกต่างระหว่างการคิดเชิงวิเคราะห์กับความคิดเชิงวิพากษ์คืออะไร?
  2. ความแตกต่างระหว่างการคิดเชิงวิเคราะห์กับการคิดเชิงสร้างสรรค์คืออะไร?
  3. Discussion: จากการคิดในลักษณะต่างๆ มีการทับซ้อนระหว่างกระบวนการจริง? หรือเป็นเพียงมีชื่อเรียกตามกระแสทั้งๆ ที่มีกระบวนการเดียวกัน?
  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาแบบแยกแยะโครงสร้างปัญหา (Introduction to Deconstructive Problem Solving)
    1. การแก้ไขปัญหาคืออะไร?
    2. Workshop/Case : คุณรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการแก้ปัญหา?
  • คุณมีแนวทางการระบุปัญหาหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง?
  1. การแยกแยะปัญหาคืออะไร?
  2. รากแห่งปัญหา-สาเหตุที่แท้จริงหมายความว่าอย่างไร และมีวิธีกำหนดราก-สาเหตุดังกล่าวอย่างไร?
  3. Exercise: นำปัญหาที่คุณมีมาแยกแยะประเด็นและหารากหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
  • Discussion: กระบวนการนี้นำคุณไปสู่ข้อสรุปที่แตกต่างจากข้อสรุปดั้งเดิมหรือไม่
  • การสร้างต้นแบบคืออะไร? (What is prototyping? )
  1. การสร้างต้นแบบถูกนำใปใช้อย่างไรในการคิดเชิงวิเคราะห์?
  1. การนำการคิดเชิงวิเคราะห์ไปใช้ ( Implementing Analytical Thinking)
    1. อะไรคือประโยชน์จากการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์สำหรับคุณ?
    2. Exercise: การพัฒนาทักษะเหล่านี้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทของคุณอย่างไร?
  • คุณผสมผสานทักษะเหล่านี้เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำงานของคุณอย่างไร?
  1. การพัฒนาทักษะเหล่านี้เกิดประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตที่บ้านของคุณและความสัมพันธ์อย่างไร?
  2. Exercise: การพัฒนาทักษะเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อความสามารถทางการตลาดของคุณอย่างไร?
  3. มีวิธีการพัฒนาทักษะจำเป็นเพื่อการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างไร?
  1. ความคาดหวังที่ไปไกลกว่า/เหนือกว่าที่เคยมี (Going Beyond)
    1. มีอัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุนต่อการนำการคิดเชิงวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์หรือไม่?
    2. Discussion: ควรใช้การคิดเชิงเคราะห์ในสถานที่ทำงานเมื่อไหร่ และใช้อย่างไร?
  • Exercise: แบบฝึกหัด: นำทุกเครื่องมือและเทคนิคที่คุณได้เรียนหรือพัฒนามาในครั้งนี้กลับไปใช้กับปัญหาเดิม ทำการวิเคราะห์อย่างเหมาะสมและเต็มรูปแบบ?
  1. Discussion: อภิปราย: คุณได้แนวทางการแก้ปัญหาที่แตกต่างจากเดิมหรือไม่? และคุณสามารถประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีการใหม่ที่ทำให้คุณเข้าใจปัญหาได้ดีขึ้นหรือไม่?
  2. Exercise: แบบฝึกหัด: จับกลุ่ม 3-4 คน และสุ่มเลือก 1 ปัญหาจากปัญหาของสมาชิก มาพิจารณาใหม่ในภาพกลุ่ม?
  3. Discussion: กลุ่มช่วยให้เกิดทางออกที่ดีขึ้นหรือไม่?
  • Discussion: อภิปราย: คุณได้เรียนรู้อะไรจากกระบวนการนี้?
  1. การประเมินผลแนวคิด (Concept Evaluations)
    1. แบบทดสอบ Quizzes.
    2. การทบทวนและประเมินสมรรถนะ Competency Reviews and Evaluation.

Ready to join our knowledge castle?

Find the right program for your organization and achieve your goals today

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save