In-House Training Courses

Team Leadership & Self Leading

Human Resources Retention & Development management for business Growth

By  อาจารย์ไกรกิติ ทิพกนก

Key Highlights:

  • เข้าใจความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการบริหารและรักษาทรัพยากรมนุษย์สำหรับองค์กร (RDMU)
  • เรียนรู้โมเดลการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำคัญๆสมัยใหม่ ในแต่ละขั้นตอนของการบริหารและรักษาทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ ตั้งแต่โมเดลเพื่อกระบวนการสรรหาและคัดเลือก(Recruitment and Selection), กระบวนการและโมเดลการพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆจนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตลอดเวลา  (Development),ยุทธวิธีการรักษาพนักงานที่ดีและมีความสามารถให้อยู่กับธุรกิจให้นานที่สุด ตลอดจนปลูกฝังและเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อธุรกิจ (Maintenance) จนถึง โมเดลการใช้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด(Utilization) เพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กร
  • เรียนรู้กลยุทธ์การรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  (Retention & Development)  ผ่าน 6กิจกรรมสำคัญ(Key Activities) ได้แก่ การวัดเพื่อประเมินผลงาน (Performance Measurement),การอบรมและการพัฒนา (Training & Development),กฎระเบียบและการบังคับใช้มาตรการด้านวินัย (Discipline & Disciplinary Corrective),การบริหารค่าตอบแทน (Compensation Administration),การสอนงานและการให้คำแนะแนว (Mentoring, Coaching & Counseling), นโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับพนักงาน (Health & Safety)
  • เรียนรู้กลยุทธ์ในการบริหาร “คนเก่ง” (Talent Management) และการพัฒนาเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path)เพื่อรองรับการเติบโต
  • เรียนรู้ตัวชี้วัดและสถิติที่สำคัญในการบริหารทรัพยากรบุคคล อาทิ RETENTION, TURNOVER, AND VACANCY RATES
  • Workshop : การจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อการรักษาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร

 หลักการและเหตุผล

การบริหารบุคคล การลงทุนเรื่องการสร้างคนไม่เพียงเพื่อลดต้นทุนระยะยาว แต่เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ กิจการที่เปลี่ยนบุคลากรบ่อยๆ ไม่เพียงจะกระทบในกระบวนการผลิตและส่งมอบสินค้าและบริการในระยะสั้นเท่านั้น  หากแต่ยังเพิ่มต้นทุนในการบริหารอีกด้วย ซึ่งหากพิจารณาในมุมของการลงทุนค่าจ้างสำหรับพนักงานที่อยู่กับองค์กรยาวนานมีแนวโน้มจะมีอัตราค่าจ้างที่ต่ำกว่าการดึงคนนอกเข้ามาเสมอ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือพนักงานที่อยู่กับองค์กรมานานและมีความซื่อสัตย์ต่อองค์กรสูงจะช่วยให้คุณวางแผนธุรกิจในระยะยาวได้ง่ายขึ้น สิ่งนี้ทำให้ กลยุทธ์การรักษาทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถไว้จึงสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จที่ยั่งยืนขององค์กร

ในการบริหารทรัพยากรบุคคลนั้นมีทฤษฎีการสร้างศักยภาพของบุคคลากรรองรับจำนวนมากมาย ซึ่งการที่ผู้บริหารจะนำทฤษฎีใดมาใช้ในการวางกรอบยุทธศาสตร์เพื่อช่วยให้ ทีมงานของเรามีศักยภาพที่เข้มแข็งขึ้นในทุกๆวัน สามารถยกระดับชีวิตการทำงาน และ สามารถช่วยสร้างความสำเร็จให้กับองค์กรตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้นั้น  จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้บริหารในทุกส่วนงานต้องมีความเข้าใจในแนวความคิดพื้นฐานและกลยุทธ์การรักษาทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถไว้กับองค์กร เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และสามารถวางกรอบนโยบายหรือยุทธศาสตร์เพื่อใช้ทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรได้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด

หลักสูตรนี้จะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะจนท่านจะสามารถวิเคราะห์และกำหนดแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมและเพิ่มศักยภาพในการกำไรทางธุรกิจ

 วัตถุประสงค์โครงการ

  • เพื่อให้เกิดความเข้าใจเข้าใจความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการบริหารและรักษาทรัพยากรมนุษย์สำหรับองค์กร (RDMU)
  • เพื่อให้สามารถวิเคราะห์วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการรักษาบุคคลากรที่มีคุณค่าขององค์กร
  • เพื่อให้เกิดความเข้าใจกลยุทธ์การรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  (Retention & Development)  ผ่าน 6กิจกรรมสำคัญ(Key Activities) ได้แก่ การวัดเพื่อประเมินผลงาน (Performance Measurement),การอมรมและการพัฒนา (Training & Development),กฎระเบียบและการบังคับใช้มาตรการด้านวินัย (Discipline & Disciplinary Corrective),การบริหารค่าตอบแทน (Compensation Administration),การสอนงานและการให้คำแนะแนว (Mentoring, Coaching & Counseling),นโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับพนักงาน (Health & Safety)
  1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจดัชนีชี้วัดและสถิติที่สำคัญ ที่ใช้ตัวชี้วัดในการบริหารทรัพยากรบุคคล ที่รูปธรรม อาทิ RETENTION, TURNOVER, AND VACANCY RATES
  2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจวิธีการนำองค์ความรู้ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในองค์กรและหน่วยงานตนได้
  3. เพื่อต่อยอดการดำเนินการที่ผ่านมาขององค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันที่ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจมหภาค

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมผู้เข้าร่วม

  1.  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการบริหารยุทธศาสตร์การบริหารธุรกิจและการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างข้อได้เปรียบให้องค์กร ในรูปแบบต่างๆ จนสามารถเลือกใช้แนวคิดที่เหมาะสม เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้กับลักษณะงานที่ตนรับผิดชอบได้
  2. มองเห็นโอกาสในการยกระดับธุรกิจ อันจะเป็นการตอบโจทย์ของสังคมและผู้บริโภคได้ รวมทั้งมองเห็นปัญหาอุปสรรคที่มี และเกิดการเรียนรู้ในการที่จะนำแนวคิดการบริหารการเงินเพื่อสร้างข้อได้เปรียบให้องค์กร ไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
  3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการบริหารและการตัดสินใจทางยุทธศาสตร์เพื่อพาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศได้

เนื้อหาหลักสูตร (Course outline)

ส่วนที่ 1  ศึกษาเพื่อเข้าใจความสำคัญและโมเดลการบริหารและรักษาทรัพยากรมนุษย์สำหรับองค์กร

    • เรียนรู้โมเดลการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำคัญๆสมัยใหม่ ในแต่ละขั้นตอนของการบริหารและรักษาทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ ตั้งแต่โมเดลเพื่อกระบวนการสรรหาและคัดเลือก(Recruitment and Selection), กระบวนการและโมเดลการพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆจนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตลอดเวลา  (Development),ยุทธวิธีการรักษาพนักงานที่ดีและมีความสามารถให้อยู่กับธุรกิจให้นานที่สุด ตลอดจนปลูกฝังและเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อธุรกิจ (Maintenance) จนถึง โมเดลการใช้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด(Utilization) เพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กร
    • เรียนรู้และเข้าใจความท้าทายในการรักษาทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่ในยุค AEC และเรียนรู้วิธีการค้นหาและบริหารแรงจูงใจที่มีผลต่อความภักดีต่อองค์กรผ่าน (Business Generation Model)
    • เรียนรู้ปัจจัยที่มีผลต่อกลยุทธ์การรักษาทรัพยากรบุคคลขององค์กร ในด้านต่างๆ ผ่าน
    • เรียนรู้ ขั้นตอนและกระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์   (3’R) ตั้งแต่ การได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ (Acquisition), การรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  (Retention & Development) ไปจน การสิ้นสภาพการทำงาน (Separation or retirement)   เพื่อการออกแบบงาน (Job designs)ที่เหมาะสมกับบุคลากรและสอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท
    • เรียนรู้โมเดลวงจรชีวิตของพนักงานในองค์กร (Employee life cycle model) และวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยที่เป็นตัวแปรสำคัญด้านต่างๆขององค์กร ตั้งแต่ ปัจจัยด้านนโยบายขององค์การ (Organization Policy),ปัจจัยด้านโครงสร้างขององค์การ (Organization Structure) ,ปัจจัยด้านวัฒนธรรมขององค์การ (Organization Culture),ปัจจัยด้านแรงงาน (Organization Workforce),       ปัจจัยด้านลักษณะงาน (Characteristic of Job) และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมภายนอก,ชุมชน,สังคมรวมถึงกฎหมายต่างๆ เพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งเร้าที่มีผลต่อการสร้างความผูกพัน (Employee Engagement)ระหว่างพนักงานกับองค์กร
    • เรียนรู้การใช้ 4 Key Touch point Model เพื่อวิเคราะห์ความผูกพันระหว่างพนักงานกับองค์กร(Employee Engagement)

ส่วนที่ 2 ศึกษากลยุทธ์การรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  (Retention & Development)

    • เรียนรู้กลยุทธ์การรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  และแนวทางการขับเคลื่อนผ่าน 6 กิจกรรมสำคัญ(Key Activities) ได้แก่ การวัดเพื่อประเมินผลงาน (Performance Measurement), การอมรมและการพัฒนา (Training & Development), กฎระเบียบและการบังคับใช้มาตรการด้านวินัย (Discipline & Disciplinary Corrective), การบริหารค่าตอบแทน (Compensation Administration), ,นโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับพนักงาน (Health & Safety)
    • เรียนรู้กลยุทธ์ในการบริหาร “คนเก่ง” (Talent Management) และการพัฒนาเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path)เพื่อรองรับการเติบโต
    • เรียนรู้กลยุทธ์การร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจในเครือ (Business Partner) ในการสร้างเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path)ให้กับกลุ่ม“คนเก่ง” (Talent) เพื่อรองรับการเติบโตทั้งองค์กรร่วมกัน และรักษาทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถไว้ในองค์กรผ่านระบบการอมรมและการพัฒนา (Cross Training & Career Ladder)
    • เรียนรู้ตัวชี้วัดและสถิติที่สำคัญในการบริหารทรัพยากรบุคคล อาทิ RETENTION, TURNOVER, AND VACANCY RATES
  • Workshop : การจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อการรักษาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร

กลุ่มเป้าหมายของการอบรม

  1. ผู้นำและผู้บริหารระดับต้นขององค์กร
  2. ผู้บริหารและบุคลากรในสายงานบริหารทรัพยากรมนุษย์
  3. ผู้จัดการโครงการ (Project Management Leader) และหัวหน้าทีม (Team Leader)
  4. บุคลากรในระดับหัวหน้างาน

ระยะเวลาดำเนินการฝึกอบรมตามหลักสูตร

สำหรับหลักสูตรนี้ สามารถเป็นหลักสูตร 1 วัน(09.00 น. – 16.00 น.) ตามความเหมาะสมขององค์กร โดยการอบรมจะประกอบด้วยการบรรยายทฤษฎีและหลักการกิจกรรมปฏิบัติการกลุ่มและการฝึกประยุกต์ความรู้จากการฝึกอบรมความท้าทายหรือวาระที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผลการดำเนินงาน (ตามความเหมาะสม)

วิธีการดำเนินหลักสูตร

  1. เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้สามารถนำไปสู่ประโยชน์ต่อองค์กรและสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของแต่ละองค์กร เนื้อหาหลักสูตรจะได้รับการออกแบบให้เหมาะสมและตามความต้องการเฉพาะของแต่ละองค์กร (Customized) โดยดำเนินการจัดอบรมภายในองค์กร (In House Training) ในวันและเวลาที่องค์กรสะดวกและบุคลากรมีความพร้อมในการเข้าอบรมอย่างพร้อมเพรียง
  2. เน้นรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการควบคู่กับทฤษฎี และกรณีตัวอย่าง เพื่ออธิบายประมวลสรุปให้บุคลากรผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความเข้าใจและมีทักษะเบื้องต้นเพียงพอในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ต่อไป
  3. กิจกรรมการเรียนรู้ เสวนากลุ่มและการระดมความคิด “หาปัญหาและอุปสรรคของการเรียนรู้งานที่เขาพบในองค์กร ร่วมกันวิเคราะห์ทำความเข้าใจปัญหา สาเหตุ และผลกระทบของระบบการทำงานที่ก้าวไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจในปัจจุบันซึ่งพบได้ในแทบทุกองค์กร เพื่อระบุข้อดี(จุดแข็ง)และทิศทางโอกาสในการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร แล้วให้พวกเขาช่วยกันเขียนวิธีต่างๆ ที่ทำให้พวกเขาสามารถเรียนรู้งานได้ดีขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขามีส่วนร่วมในการวางระบบการเรียนรู้ในองค์กร (Knowledge Flow)

กิจกรรมการเรียนรู้2. เสวนากลุ่มระดมความคิดหัวข้อ “ทักษะที่จำเป็นสำหรับพนักงานทุกคนในองค์กรที่จำเป็นในการสร้างความเปลี่ยนแปลง” เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบจุดเสีย และจุดเด่นของตนด้วยตนเอง ฝึกการทำงานเป็นทีม ร่วมกันวิเคราะห์ทำความเข้าใจปัญหา สาเหตุ และผลกระทบของการทำงานอันเนื่องมาจากการขาดความเข้าใจในทักษะแต่ละด้าน แล้วเปิดโอกาสให้พวกเขาช่วยกันสรุปบทเรียนจากกิจกรรม เพื่อระบุโอกาสในการปรับปรุงศักยภาพของตนเองและทีมร่วมกัน

กิจกรรมการเรียนรู้3. “เรียนรู้ร่วมกันผ่านกิจกรรมกลุ่ม “Futuristic & Change Roadmap” เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบจุดเสีย และจุดเด่นของตนด้วยตนเอง ฝึกการทำงานเป็นทีม ร่วมกันวิเคราะห์ทำความเข้าใจปัญหา สาเหตุ และผลกระทบของการทำงานที่ไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ทีมขาดเอกภาพในการดำเนินตามยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลง แล้วเปิดโอกาสให้พวกเขาช่วยกันสรุปบทเรียนจากกิจกรรม และเขียน “แผนการทำงาน Action Plan (กลุ่มหัวหน้างาน) หรือ Strategic operation Plan (กลุ่มผู้บริหาร) เพื่อกำหนดทิศทางโอกาสในการปรับปรุงระบบการทำงานร่วมกันเพื่ออนาคต

แนวทางการสอนและรูปแบบการเรียนรู้

ทฤษฎี 50% : ปฏิบัติ 50% บรรยาย ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม

  • กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”
  • กิจกรรมเดี่ยว ใช้ทฤกษฎีและกิจกรรมทางจิตวิทยาทำให้ผู้เข้าอบรมได้ “ค้นพบตนเอง”
  • ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ : เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” ยิ่งขึ้น
  • การเสวนาตีความ : ฝึกวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้
  • การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่และการฝึกประสบการณ์ (Adult Learning & Experiential Learning) ด้วยวิธีการ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
  • เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้มุมมองหลักคิดผ่านกรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

Ready to join our knowledge castle?

Find the right program for your organization and achieve your goals today

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save