In-House Training Courses
REAL-ESTATE PROGRAM
Fundamentals of Engineering and Project Utility System
หลักการและเหตุผล
โครงการก่อสร้างมีงานที่เกี่ยวข้องต่างๆเป็นจำนวนมาก เช่น งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานระบบไฟฟ้า งานระบบสุขาภิบาล และงานระบบปรับอากาศ/ระบายอากาศ เป็นต้น รวมไปถึงงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคต่างๆที่อยู่ภายในบริเวณโครงการ เช่น ระบบระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบไฟฟ้าแรงสูง และระบบประปา เป็นต้น โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการก็จะมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามวิชาชีพ แต่เนื่องจากโครงการก่อสร้างนั้นไม่แยกกันทำงานในแต่ละทีมได้อย่างสิ้นเชิง ต้องมีการร่วมกันทำงานเป็นทีม ทั้งนี้งานวิศวกรรมระบบสาธารณูปโภคก็เป็นอีกงานที่ที่หลายๆฝ่ายในโครงการต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่เพียงเฉพาะแต่วิศวกรงานระบบวิศวกรรมฯที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เท่านั้น หากวิศวกรโยธา หรือผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายอื่นๆ มีความเข้าใจในกระบวนการและพื้นฐานของงานด้านวิศวกรรมงานระบบสาธารณูปโภค ก็จะทำให้การทำงานร่วมกัน รวมไปถึงการประสานงานกับภาคส่วนต่างๆ เป็นไปด้วยความราบรื่น เพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างความตระหนักความรู้ ความเข้าใจแนวคิด และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนประเด็นสำคัญต่าง ๆ ของพื้นฐานวิศวกรรมงานระบบสาธารณูปโภค
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เห็นภาพรวมของขั้นตอนการปฏิบัติงานและเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างผู้เข้าอบรมและวิทยากร
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้พื้นฐานวิศวกรรมงานระบบสาธารณูปโภค ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
เนื้อหาหลักสูตร
Module 1 : พื้นฐานงานระบบไฟฟ้า -พื้นฐานของระบบไฟฟ้า
– พื้นฐานระบบไฟฟ้า
เนื้อหาเกี่ยวกับระบบจ่ายไฟของระบบไฟฟ้า จากแหล่งกำเนิดจนถึงโหลดใช้งาน โดยมีรายละเอียดครอบคลุมถึงระบบไฟฟ้าจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิต, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง
– การเลือกใช้วัสดุสำหรับงานระบบไฟฟ้า
เนื้อหาเกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับพื้นที่ใช้งาน เช่น สายไฟ, ท่อร้อยสาย, รางเดินสาย, หม้อแปลงไฟฟ้า รวมไปถึงวัสดุที่เกี่ยวข้อง
– การคำนวณโหลดระบบไฟฟ้าเบื้องต้น
การคำนวณเกี่ยวกับโหลดไฟฟ้าเบื้องต้น เช่น แสงสว่าง, ปลั๊กไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศ เพื่อหาขนาดเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์และขนาดสายไฟฟ้ารวมไฟถึงขนาดท่อร้อยสาย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
– การตรวจสอบสภาพพร้อมใช้งานของระบบไฟฟ้า
การตรวจสอบสภาพพร้อมใช้งาน เช่น สายไฟฟ้า, เต้ารับไฟฟ้า, เซอร์กิตเบรกเกอร์ , แมกเนติก คอนแทคเตอร์ รวมไปถึงวัสดุที่เกี่ยวข้อง
– แนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
วิธีการและขั้นตอนปฏิบัติเมื่อพบปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าดับ, หม้อแปลงระเบิด, ไฟฟ้ารั่ว/ช็อต เป็นต้น
– พื้นฐานของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
เนื้อหาเกี่ยวกับหลักการทำงานของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เช่น ระบบ Alarm , ระบบดับเพลิง เป็นต้น และวัสดุที่เกี่ยวข้อง เช่น smoke & heat detector เป็นต้น รวมไปถึงมาตรฐานการติดตั้งเพื่อให้ครอบคลุมกับพื้นที่ป้องกันอย่างเหมาะสม
Module 2 : พื้นฐานงานระบบปรับอากาศ
– พื้นฐานและชนิดของระบบเครื่องปรับอากาศ
อธิบายเกี่ยวกับชนิดของระบบปรับอากาศ เช่น Water Cooled Water Chiller Type, Air Cooler Water Chiller Type, Water Cooled Package Type และ Split Type รวมไปถึงหลักการทำงานภาพรวมและการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสมด้วย
– การคำนวณหาประสิทธิภาพระบบเครื่องปรับอากาศ
การคำนวณหา EER หรือค่า Energy Effective Ratio เป็นค่าบ่งบอกอัตราส่วนของเครื่องปรับอากาศ เป็นค่าที่เป็นค่าหลักที่ใช้วัดประสิทธิภาพการใช้พลังงาน กับ ค่าไฟฟ้า เพื่อความคุ้มค่าในการเลือกใช้งานต่อไป
– แนวทางในการบำรุงรักษาระบบเครื่องปรับอากาศ
ขั้นตอนการบำรุงรักษาระบบเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานยาวนาน จึงควรดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งวิธีการมีทั้งแบบที่ทำเองได้ และต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญ ซึ่งนอกจากจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องแล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย
Module 3 : พื้นฐานงานระบบสุขาภิบาลและดับเพลิง
– พื้นฐานของระบบสุขาภิบาล
เนื้อหาเกี่ยวกับภาพรวมของระบบสุขาภิบาล โดยแบ่งเป็นระบบน้ำประปา และระบบน้ำทิ้ง/น้ำเสีย ยกตัวอย่าง เช่น ระบบบำบัดน้ำเสียจากจุดรับน้ำเสียผ่านกระบวนการจนสามารถปล่อยน้ำลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ รวมไปถึงมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพน้ำด้วย
– อุปกรณ์พื้นฐานระบบสุขาภิบาล
เนื้อหาเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์ รวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ชนิดของวาล์ว, ท่อประปา และ ปั๊ม รวมไปถึงวัสดุที่เกี่ยวข้อง
– วิธีการบำรุงรักษาระบบสุขาภิบาล
ในการใช้งานระบบสุขาภิบาลย่อมมีความเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ภายในระบบฯ มีความจำเป็นที่จะต้องบำรุงรักษาและปรับปรุงสภาพ เพื่อรักษาให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือกลับมามีสภาพดีอีกครั้ง
– พื้นฐานของระบบท่อน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์พื้นฐาน
เนื้อหาเกี่ยวกับหลักการทำงานของระบบท่อน้ำดับเพลิงและวัสดุที่เกี่ยวข้อง เช่น ท่อน้ำดับเพลิง, หัวสปริงเกอร์, ถังดับเพลิง, ปั๊มสูบน้ำดับเพลิง เป็นต้น รวมไปถึงมาตรฐานการติดตั้งเพื่อให้ครอบคลุมกับพื้นที่ป้องกันอย่างเหมาะสม
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย กรณีศึกษา อภิปรายแลกเปลี่ยน และ Work shop
- ระดมสมอง เพื่อวิเคราะห์กรณีศึกษาหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ผู้เกี่ยวข้องในระดับ
- ผู้จัดการ
- หัวหน้างาน
- วิศวกรโยธา, วิศวกรงานระบบต่างๆและผู้ปฏิบัติงาน
และผู้ที่ต้องการมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานระบบฯ (จำนวน 30-40 คน)
ระยะเวลาการฝึกอบรม
ระยะเวลาการฝึกอบรม 1 วัน
Ready to join our knowledge castle?
Find the right program for your organization and achieve your goals today