In-House Training Courses
Innovation & Technology
Systematic Inventive Thinking
![](https://kctathailand.com/wp-content/uploads/2023/02/sys.jpg)
หลักการ/แนวคิด
การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking ) หมายถึง การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มองภาพรวมอย่างเป็นระบบ มีส่วนประกอบย่อย ๆ โดยอาศัยการคิดในรูปแบบโดยทางตรงและโดยทางอ้อม การคิดระบบโดยทางตรงมีเป้าหมายกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่จำแนก รูปแบบการคิดตามพื้นฐานของมนุษย์ แต่แยกรูปแบบการคิดโดยมุ่งที่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ โดยจำแนกออกเป็น 3 แบบ
- การคิดเพื่อรู้เข้าใจหน่วยระบบ
- การคิดเพื่อวิเคราะห์และประเมินหน่วยของระบบ
- การคิดเพื่อออกแบบ และก่อตั้งหน่วยระบบ
ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ การสร้างให้บุคลากรมีความสามารถในการคิดเชิงระบบจะทำให้เกิดผลดีห้าประการต่อองค์กรได้แก่
- การคิดเชิงระบบ (System Thinking) ทำให้บุคคลากรสามารถมองเห็นวิธีคิดและภาษาที่ใช้อธิบายพฤติกรรมความเป็นไปต่าง ๆ ถึงความเชื่อมโยงต่อเนื่องของสรรพสิ่งและเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ ผูกโยงกันเป็นระบบ เป็นเครือข่ายด้วยสภาวะการพึ่งพาอาศัยกัน สามารถมองปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นวัฎจักรโดย นำมาบูรณาการเป็นความรู้ใหม่ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงระบบได้อย่างมีประสิทธิผลสอดคล้องกับความเป็นไปในโลกแห่งความจริง
- แบบแผนความคิด (Mental Model) คือ ทำให้บุคคลากรตระหนักถึงกรอบแนวคิดของตนเอง รูปแบบความคิดความเชื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจและการกระทำของตน และพยายามพัฒนารูปแบบความคิดความเชื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและสามารถที่จะบริหารปรับเปลี่ยนกรอบความคิดของตนได้
- การสร้างพลังแห่งตน (Personal Mastery) คือ การส่งเสริมให้คนในองค์กรสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง โดยการจัดทำกลไกต่าง ๆ เพื่อสร้างจิตสำนึกของคนในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างหน่วยงานระบบสารสนเทศระบบการพัฒนาบุคคล หรือแม้แต่ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานประจำวัน
- การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) คือ การกำหนดกรอบความคิดเกี่ยวกับสภาพในอนาคต ของหน่วยงานที่ทุกคนในหน่วยงาน มีความปรารถนาร่วมกันช่วยกันสร้างภาพอนาคตของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ริเริ่มทดลองสิ่งใหม่ ๆ ของคนในหน่วยงาน และให้การทำงานเป็นไปในทิศทาง หรือกรอบแนวทางที่มุ่งไปสู่จุดเดียวกัน
- การเรียนรู้ร่วมเป็นทีม (Team Learning) คือ การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์และทักษะวิธีคิด เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาและศักยภาพของทีมงานรวมทั้งการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันเป็นทีมด้วย ซึ่งการเรียนรู้และพัฒนาในเรื่องนี้ จะช่วยให้การทำงานร่วมกันในหน่วยงานมีความเป็นทีมที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกแต่ละคนสามารถแสดงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาได้อย่างเต็มที่
ด้วยเหตุนี้ทางบริษัทจึงได้สร้างหลักสูตรนี้ขึ้น เพื่อให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องและจำเป็นใน การบริหารองค์กร โดยการจัดการอบรมให้ความรู้ การถ่ายทอดกรณีศึกษาในการประยุกต์ใช้งานในลักษณะต่างๆผ่านวิทยากรที่มีประสบการณ์ความสำเร็จในการนำแนวคิดในการใช้บริหารองค์กร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเปิดมุมมองเกี่ยวกับโอกาสให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ
วัตถุประสงค์
- ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการทฤษฎีการทำงานของสมองและกระบวนการคิดเชิงระบบของมนุษย์ต่อ ซึ่งมีผลต่อการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนมีเครื่องมือและเทคนิคการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของการคิดเชิงระบบ
- เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนให้ใช้เหตุผลเพื่อวิเคราะห์ความสำเร็จและความล้มเหลวในการทำงานและหาแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
- เพื่อให้ฝึกให้ผู้เรียนแต่ละคนมีแนวคิดในการทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถทำความเข้าใจกับงานที่ได้รับเพื่อที่จะสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์
- ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดใหม่ที่สามารถนำไปต่อยอดการดำเนินการขององค์กรหรือหน่วยงานที่ตัวเองรับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และพร้อมรับมือกับการแข่งขันทางธุรกิจและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ
เนื้อหาการเรียนรู้
ส่วนที่1) เรียนรู้และเข้าใจแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการคิดเชิงระบบ
- การทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวา
- ความหมายของการคิด (Thinking Concept)
- องค์ประกอบของการคิด
- ความหมายของการคิดเชิงระบบ
- Systematic inventive Thinking theory : SIT Model
ส่วนที่2) ประยุกต์แนวความคิดเชิงระบบเข้ากับการทำงาน
- เครื่องมือสำหรับการคิดและเทคนิคการแก้ปัญหาเชิงระบบ SIT (Complexity & Approach)
- ค้นหาสาเหตุของปัญหาและการแก้ปัญหาเชิงระบบ ปรับพื้นฐานความเข้าใจและแนววางกรอบการพัฒนาการแก้ปัญหาเชิงระบบ (Systematic Problem) 6 sigma DMAIC Problem solving method
กิจกรรมและWorkshop
กิจกรรมที่1 Brain Game
Inspiring Workshop : ฝึกการคิดแก้ปัญหา Brain Game (Complexity & Approach) เพื่อเตรียมความพร้อมให้สมองและฝึกทักษะการคิด
กิจกรรมที่2 Thinking about work
Inspiring Workshop : ฝึกการคิดแก้ปัญหาด้วยการคิดเชิงระบบ ด้วย SIT (Complexity & Approach) เพื่อการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงประสิทธิภาพงานให้ได้ตามแผนยุทธศาสตร์หลักของบริษัท
Business Model : SIT Model และ DMAIC
แนวทางการสอนและรูปแบบการเรียนรู้
ทฤษฎี 50% : ปฏิบัติ 50%
- บรรยาย : ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม
- กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด : ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”
- ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ : เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” ยิ่งขึ้น
- การเสวนาตีความ : ฝึกวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้
- การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่และการฝึกประสบการณ์ (Adult Learning & Experiential Learning) ด้วยวิธีการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
- เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้มุมมองหลักคิดผ่านกิจกรรมกลุ่ม และเดี่ยว การฝึกปฏิบัติการ (Work Shop), กรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
![](https://kctathailand.com/wp-content/uploads/2023/01/KCT-Castle.webp)
Ready to join our knowledge castle?
Find the right program for your organization and achieve your goals today