In-House Training Courses
Crisis Management & Business Strategy
The Financial Strategist For Non-Finance
หลักการ/แนวคิด
ในโลกธุรกิจทุกการ การบริหารการเงินเป็นสิ่งที่เราพึงกระทำก่อนเป็นอย่างแรก วิธีเริ่มต้นที่ดีสำหรับการบริหารที่ไม่ใช่นักบัญชีและการเงินต้องเข้าใจ คือ การทำความเข้าใจผลประกอบการผ่านงบการเงิน เพื่อให้เราสามารถประเมินความเป็นไปได้ ของธุรกิจ ก่อนจะบังคับทิศทางของธุรกิจไปจนถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้บริหารในทุกส่วนงานต้องมีความเข้าใจในแนวความคิดพื้นฐานทางการเงิน เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และตัดสินใจแก้ไขปัญหา และวางกลยุทธ์ในการใช้ทรัพยากรขององค์กรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด
หลักสูตรนี้จะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านการเงินธุรกิจ สำหรับท่านที่ไม่มีพื้นฐานด้านการเงิน การบัญชีโดยเฉพาะ เพื่อให้ท่านจะสามารถวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจได้แม่นยำขึ้น ด้วยงบด้านการเงิน และเพิ่มศักยภาพในการกำไรทางธุรกิจ
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการอ่านงบการเงิน สามารถวิเคราะห์และแปลความหมายตีความ ตัวเลขในงบการเงิน เพื่อประโยชน์เชิงบริหาร
- เพื่อสามารถวิเคราะห์ฐานะการเงินของบริษัท ตลอดจนผลประกอบการของกิจการ
- เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และมีแนวการวิเคราะห์ และปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อธุรกิจด้วยงบการเงิน
เนื้อหาการเรียนรู้
วันแรก
ส่วนที่1 กิจกรรมธุรกิจ
- มิติแห่งการจัดการ
- ปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจกับภาระงานทางการเงิน
- เข้าใจกระบวนการทำงานและบทบาทการบริหารการเงิน ในฐานะผู้บริหารทั่วไปที่ต้องตัดสินใจทางกลยุทธ์
- เรียนรู้วัฏฏะจักรของทุนและการวางยุทธศาสตร์การบริหารการเงินทั้งระบบ (การบริหารสภาพคล่อง,การบริหารหนี้สิน และ การบริหารกองทุนสำรอง)
- ความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางธุรกิจ และการบริหารการเงินของกิจการ
ส่วนที่2 หลักการบัญชีและความสำคัญของข้อมูลในการบริหารองค์กร
- เรียนรู้หลักการบัญชีและการเงินที่สำคัญ
- ความสำคัญของการวิเคราะห์งบการเงิน ประเด็นสำคัญที่นักบริหารควรทราบ
- ประเภทของการบัญชี
- ผู้ใช้ข้อมูลทางด้านการบัญชี
- จุดอ่อนของบัญชีการเงิน
- ประโยชน์ของบัญชีเพื่อการจัดการ
- การเปรียบเทียบการบัญชีเพื่อการจัดการและการบัญชีการเงิน
- ข้อมูลกับระดับการบริหาร
ส่วนที่ 3 ความสัมพันธ์และวิธีอ่านงบกระแสเงินสด งบกำไรขาดทุน และงบดุล
- ความหมายของการวิเคราะห์งบการเงิน
- ประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงินที่มีผลต่อการตัดสินใจ
- แหล่งข้อมูลที่สำคัญในการวิเคราะห์งบการเงิน
- องค์ประกอบงบการเงิน ความเชื่อมโยงของงบการเงินต่างๆ
- งบแสดงฐานะทางการเงิน
- งบกำไรขาดทุน
- งบกระแสเงินสด
- การวิเคราะห์งบการเงินของธุรกิจเพื่อรักษากำไรให้อยู่ในระดับสูง
- เรียนรู้ต้นทุนผันแปร-ต้นทุนคงที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์การเงิน
ส่วนที่4 อัตราส่วนทางการเงินและการใช้งาน
- เทคนิคในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินเพื่อการวางแผนและตัดสินใจ
- อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง
- อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร
- เทคนิคการดูงบการเงินที่ผิดปกติ
- การสังเกตงบการเงินที่ผิดปกติ
วันที่2
ส่วนที่ 5 ความเสี่ยงหรือปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการเงิน
- กลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน
- หลักการวางแผนบริหารความเสี่ยงการเงิน และ เพื่อการสร้างข้อได้เปรียบทางการเงินและกีดกันคู่แข่ง
ส่วนที่6 การวิเคราะห์สถานะการเงินและสภาพคล่องของผู้ประมูลงาน
- วิธีการประเมินธุรกิจ ก่อนการทำการวิเคราะห์สถานภาพทางการเงิน
- เกณฑ์และตัวชี้วัดสถานภาพทางการเงิน
- การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินเพื่อการวางแผนและตัดสินใจ
- ข้อจำกัดของการวิเคราะห์งบการเงิน
- CAMEL ANALYSIS model
ส่วนที่7 หลักการคิดค่าของเงินที่เปลี่ยนไปตามเวลา
- แนวคิดเบื้องต้นมูลค่าเงินตามเวลา
- มูลค่าอนาคตของ เงินก้อนเดียว และเงินงวด
- มูลค่าปัจจุบันของ เงินก้อนเดียว และเงินงวด
- การประยุกต์มูลค่าเงินตามเวลา
ส่วนที่8 หลักการทำงบประมาณโครงการและการบริหารงบประมาณ
- วัตถุประสงค์ของแผนการปฎิบัติงาน (Action Plan Management) และการจัดทำงบประมาณ
- โครงสร้างของ MPS (Management Action Plan)
- การวางแผนงบประมาณสำหรับโครงการขนาดเล็ก (Small Scale Planning)
- ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแผนงานด้วย SCHEMES Model (Space, Cash, Helper, Equipment, Materials, Expertise, System)
- การวางแผนงบประมาณสำหรับโครงการขนาดใหญ่ (Managing Big Project)
- การสร้าง To do list หรือ Action Program
- 3 ขั้นตอนการสร้าง To do list
- การนำ To do list ไปใช้
- ตัวชี้วัดใช้ประเมินแผนการใช้งบประมาณการปฎิบัติการเพื่อการบริหาร ( Financial Criteria for MAP Evaluation)
กิจกรรมและWorkshop
กิจกรรมที่1 Decision
Inspiring Workshop : ฝึกการวิเคราะห์การบริหารเงินและสภาพคล่องจากงบแสดงฐานะทางการเงิน และอัตราส่วนทางการเงินเพื่อการตัดสินใจทางกลยุทธ์
Business Model : Business Model ต่างๆที่ได้เรียน
แนวทางการสอนและรูปแบบการเรียนรู้
ทฤษฎี 50% : ปฏิบัติ 50%
- บรรยาย : ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม
- กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด : ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”
- ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ : เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” ยิ่งขึ้น
- การเสวนาตีความ : ฝึกวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้
- การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่และการฝึกประสบการณ์ (Adult Learning & Experiential Learning) ด้วยวิธีการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
- เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้มุมมองหลักคิดผ่านกิจกรรมกลุ่ม และเดี่ยว การฝึกปฏิบัติการ (Work Shop), กรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
Ready to join our knowledge castle?
Find the right program for your organization and achieve your goals today