In-House Training Courses
Agile Management ISO & Productivity Improvement
Total Quality Management: TQM and Kaizen
ที่มาและความสำคัญของการฝึกอบรม
แนวคิดการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย W.Edwards Deming เพื่อทำการปรับปรุงคุณภาพการผลิตสินค้าและบริการ แต่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายในช่วงปลายปี 1940 และประเทศญี่ปุ่นได้นำการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวมไปใช้ในการผลิต โดยเน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
การบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม (TQM) หมายถึง ระบบบริหารจัดการคุณภาพที่เน้นการทำงานร่วมกันของทุกคนในองค์กร โดยมุ่งเน้นผลกำไรในระยะยาวและการสร้างความพึงพอใจของลูกค้ามากที่สุด มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้ภาวการณ์ แข่งขันที่รุนแรง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
โมเดลแนวความคิด TQM ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยคือโมเดลที่ปรับปรุงมาจาก Kano’s House ซึ่งประกอบด้วยสามเสาหลักคือ Concept, Techniques, and Promotion Vehicle เพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายของธุรกิจคือความพึงพอใจของลูกค้าและผลกำไรต่อไป ทั้งนี้ แต่ละเสาหลักของ TQM มีหลักการ รายละเอียดและเครื่องมืออยู่ค่อนข้างมาก หลักสูตรนี้จึงออกแบบให้ผู้อบรมเห็นภาพรวม มีความเข้าใจในหลักการ TQM อย่างแท้จริงก่อน หลังจากนั้นจึงลงรายละเอียดของเครื่องมือในแต่ละเสา โดยบรรยายและแสดงตัวอย่างให้เห็นถึงหลักการและเครื่องมือแต่ละอย่างที่สำคัญเพื่อสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานได้จริง
Total Quality Mangement Model
Kaizen
Kaizen มีหลักการง่ายๆ 3 อย่างด้วยกันซึ่งคือ เลิก ลด และ เปลี่ยน พูดง่ายๆ ก็คือ Kaizen คือการลดหรือยกเลิกขั้นตอนส่วนเกินนั้นเอง การลดหรือยกเลิกขั้นตอนส่วนเกินในกระบวนการทำงานที่ไม่สร้าง value ให้กับธุรกิจสามารถทำให้ประหยัดเวลาอันมีค่าและะประหยัดต้นทุนได้เช่นกัน ในส่วนของการเพิ่มผลิตภาพ(Productivity) เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกองค์กรควรจะทำความเข้าใจ เพราะจะช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน และดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ระบบที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพในองค์กรมีมากมาย องค์กรจะต้องเลือกประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับลักษณะของการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กรของตนเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ ลดความสูญเสีย มีต้นทุนในการดำเนินงานที่เหมาะสม และ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันเวลา
วัตถุประสงค์
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจถึงภาพรวมของหลักการ ของ TQM
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจเสาที่ 1 ของ TQM (Concept) และการนำไปใช้
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจเสาที่ 2 ของ TQM (Concept) และการนำไปใช้
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจเสาที่ 3 ของ TQM (Concept) และการนำไปใช้
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจแนวคิด หลักการ และแนวทางการทำไคเซ็น
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจถึงการวางระบบบริหารไคเซ็นผ่านและกรณีศึกษา
วิธีการสอน-จุดเน้น
ลักษณะของการอบรมเป็นการบรรยายถึง หลักการ/เครื่องมือ/ตัวอย่างการนำไปใช้จริง/ปัญหาสำคัญและแนวทางป้องกันแก้ไข ในทุกส่วนของ TQM และ ไคเซ็นโดยเจาะลงไปในรายละเอียดให้เห็นภาพหลักการของเครื่องมือแต่ละอย่าง ให้ผู้อบรมมีพื้นฐานความข้าใจที่แน่น เพื่อนำไปใช้จริงได้อย่างถูกหลัก นอกจากนี้ยังยกตัวอย่างปัญหาที่สำคัญในแต่ละส่วนที่มาจากประสบการณ์จริงในโรงงานของวิทยากรซึ่งมีพื้นฐานเป็นวิศวกรทำให้เข้าใจผู้เรียนได้อย่างถ่องแท้ หลักสูตรเหมาะสำหรับผู้บริหารระดับต้นถึงระดับกลาง และผู้ที่กำลังจะก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารที่การทำงานเกียวข้องกับการขับเคลื่อนระบบ TQM และ ไคเซ็น
หัวข้อการฝึกอบรม วันที่ 1
Session | ช่วงเวลา | รายละเอียดเนื้อหา |
1 | 9:00-10:15 น. | ภาพรวมของ TQM · แนวความคิดและหลักการของ TQM ในภาพรวม · รายละเอียดในกรอบของ TQM · หน้าที่ของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ · TQM เปรียบเทียบกับเครื่องมืออื่น · แนวความคิดของเดมมิ่ง E.Deming’s Concept · ฐานของ TQM House Model แรงจูงใจและเทคโนโลยี · หลังคาของ TQM House Model ความพอใจของลูกค้าและพนักงาน |
2 | 10:30-12:00 น. | เสาที่ 1: Concept หลักการ/เครื่องมือ/ตัวอย่างการนำไปใช้จริง/ปัญหาสำคัญและแนวทางป้องกันแก้ไข · Marketing-in · Process · PDCA · Fact&Data · Standardize · Prvention |
3 | 13:00-14.30 น. | เสาที่ 2: Techniques หลักการ/เครื่องมือ/ตัวอย่างการนำไปใช้จริง/ปัญหาสำคัญและแนวทางป้องกันแก้ไข · 7 QC Tools · 7 QC Tools · Statistical Process · Other QC Tools
|
4 | 14:45-16:00 น. | เสาที่ 3: หลักการ/เครื่องมือ/ตัวอย่างการนำไปใช้จริง/ปัญหาสำคัญและแนวทางป้องกันแก้ไข · Policy Management · Daily Management · Cross-Functional Management · Bottom-Up Activities · Wrap Up and Discussion |
หัวข้อการฝึกอบรม วันที่ 2
Session | ช่วงเวลา | รายละเอียดเนื้อหา |
5 | 9:00-10:15 น. | ภาพรวมของ Kaizen และการเพิ่มผลิตภาพ · แนวคิด และหลักการของไคเซ็น(Kaizen) · การเพิ่มผลิตภาพ(Productivity) · การวางระบบและการบริหารงาน ด้วยไคเซ็น · การรณรงค์ ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ รางวัล · การเก็บข้อมูลและการวัด |
2 | 10:30-12:00 น. | วิธีการคิด การมองปัญหาและการเขียนขั้นตอน Kaizen · หลักการและข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน · วิธีการคิดเพื่อหาประเด็นในการปรับปรุงด้วยไคเซ็น · ขั้นตอนและเครื่องมือในการปรับปรุงงาน · เทคนิคในการมองปัญหาและกรณีศึกษา |
3 | 13:00-14.30 น. | Workshop Kaizen · ผู้ร่วมอบรมทดลองปฏิบัติจากกรณีศึกษาของวิทยากร |
4 | 14:45-16:00 น. | Workshop Kaizen (ต่อ) · ผู้ร่วมอบรมทดลองปฏิบัติจากกรณีศึกษาของวิทยากร · นำเสนอผลงาน และวิเคราะห์ผลที่ได้รับ Discussion |
วิธีการฝึกอบรม
บรรยาย กรณีศึกษา อภิปรายแลกเปลี่ยน Workshop
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- หัวหน้างาน
- ผู้เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติงาน จำนวนไม่เกิน 50 คน
ระยะเวลาการฝึกอบรม
ระยะเวลาการฝึกอบรม 2 วัน
แนวทางที่ใช้ในการอบรม
แนวทางการสัมมนาและรูปแบบการเรียนรู้ : ทฤษฎี 30 : ปฏิบัติ 70
บรรยาย ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม
กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”
ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” มากยิ่งขึ้น
การเสวนาตีความ วิเคราะห์เพื่อเข้าใจให้เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้
- การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) ด้วยวิธีการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
- เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้ความรู้ พร้อม VDO ประกอบการบรรยาย, กิจกรรมกลุ่มการระดมความคิด (Brainstorming) , การฝึกปฏิบัติการ (Work Shop), กรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
Ready to join our knowledge castle?
Find the right program for your organization and achieve your goals today