fbpx

In-House Training Courses

Agile Management ISO & Productivity Improvement

Managing with KPI

หลักการและเหตุผล

KPI เป็นเรื่องสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องหันมาให้ความสนใจกับการปรับปรุงประสิทธิภาพภายในองค์กร เพื่อไม่ให้เสียเปรียบในการแข่งขัน การประเมินผลงานสมัยใหม่จะเน้นด้านผลลัพธ์และผลสัมฤทธิงานเป็นหลัก และเครื่องมือสำคัญที่องค์กรนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน และบุคคล (ตำแหน่งงาน) คือการกำหนด “ดัชนีชี้วัดผลงาน” (KPI) ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษ Key Performance Indicator ซึ่งเป็นวิธีการหรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานขององค์กร ในองค์กรหนึ่งๆ จะมีกิจกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก กิจกรรมเหล่านี้หากไม่ได้รับการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ จึงจำเป็นต้องมี KPI สำหรับวัดผลการดำเนินการของกิจกรรม ตลอดจนการวัดผลการดำเนินการของกิจกรรมอื่นๆ ที่มีความสำคัญต่อองค์ก เพราะเป็นตัวชี้วัดที่สามารถวัดผลสำเร็จหรือล้มเหลวของหน่วยงาน และบุคคล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม นอกจากนั้นยังสามารถนำผลการประเมินไปพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงาน “การออกแบบประเมินผลงานโดยการกำหนดดัชนีชี้วัด ( KPI)” จึงจำเป็นยิ่งสำหรับองค์กรยุคปัจจุบันและอนาคตที่มีการแข่งขันสูง

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประเมินผลงานและตัวชี้วัด (KPI) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบประเมินผลงาน และกำหนดปัจจัยในการประเมินผลในหน่วยงานและตำแหน่งงานได้
  2. เพื่อให้องค์กรมีปัจจัยการประเมินผลงาน และ KPI ที่สอดคล้องกับทิศทางของบริษัทในทุกหน่วยงาน และทุกตำแหน่งงาน ตลอดถึงเกิดการต่อยอดและมีพัฒนาระบบการประเมินผลงานได้อย่างต่อเนื่อง
  3. เพื่อให้การประเมินผลงาน และจ่ายผลตอบแทนเป็นไปด้วยความยุติธรรม
  4. เพื่อให้ผู้บริหารใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้น และสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงา
  5. เพื่อให้องค์กรมีบุคลากรที่มีคุณภาพมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสามารถแข่งขันได้ในทุกสถานการณ์

เนื้อหาวิชา

  1. แนวคิด และความหมายการประเมินผลงาน
  2. ความแตกต่างระหว่างผลการปฏิบัติงาน(Performance) กับ สมรรถนะการทำงาน (Competencies)
  3. การจัดทำดัชนีชี้วัดผลงานและการกำหนดค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของงาน
  4. ประเภทตัวชี้วัด
  5. การกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ของแต่ละปัจจัย
  6. การจัดทำตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของงาน
  7. วิธีการกำหนดตัวชี้วัดและประเมินค่าเป้าหมายของงาน
  8. แนวทางการกำหนดค่าเป้าหมาย
  9. SMART model กับข้อควรคำนึงในการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของงาน
  10. การประเมินผลงาน กับการบริหารผลงาน
  11. ตัวอย่าง KPI และแบบประเมินผลงาน

Work Shop: ฝึกฝึกปฏิบัติออกแบบประเมินผลงานโดยกำหนดปัจจัยประเมินผลงานและ KPI ของแต่ละ      หน่วยงาน และตำแหน่งงาน

FRAME WORK

 

Ready to join our knowledge castle?

Find the right program for your organization and achieve your goals today

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save