In-House Training Courses
Agile Management ISO & Productivity Improvement
KPI & Process of performance appraisal

Business photo created by snowing – www.freepik.com
หลักการและเหตุผล
การประเมินผลการปฏิบัติงานนั้นเป็นกระบวนการสำคัญที่มีผลต่อการผลักดันองค์กรให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่ได้กำหนดขึ้นไว้ นับเป็นการถ่ายทอดเชื่อมต่อความต้องการขององค์กร ไปสู่เป้าหมายการทำงานของพนักงานแต่ละบุคคล และเป็นเครื่องมือทางการบริหารที่จะทำให้ผู้บังคับบัญชาได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน และสมรรถนะของแต่ละบุคคล รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงานในการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน (KPI) ร่วมกัน ทำให้เกิดความร่วมมือ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรในที่สุด
ตัวชี้วัดที่สามารถวัดผลสำเร็จหรือล้มเหลวของหน่วยงาน และบุคคล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม ไม่เพียงช่วยให้องค์กรสามารถจ่ายผลตอบแทนตามผลงานที่เป็นไปอย่างยุติธรรมและเกิดยังช่วยให้เกิดการยอมรับจากพนักงาน นอกจากนั้นยังสามารถนำผลการประเมินไปพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงาน “การออกแบบประเมินผลงานโดยการกำหนดดัชนีชี้วัด ( KPI)” จึงจำเป็นยิ่งสำหรับองค์กรยุคปัจจุบันและอนาคตที่มีการแข่งขันสูง
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประเมินผลงานและตัวชี้วัด (KPI) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบประเมินผลงาน และกำหนดปัจจัยในการประเมินผลในหน่วยงานและตำแหน่งงานได้
- เพื่อให้องค์กรมีปัจจัยการประเมินผลงาน และ KPI ที่สอดคล้องกับทิศทางของบริษัทในทุกหน่วยงาน และทุกตำแหน่งงาน ตลอดถึงเกิดการต่อยอดและมีพัฒนาระบบการประเมินผลงานได้อย่างต่อเนื่อง
- เพื่อให้การประเมินผลงาน และจ่ายผลตอบแทนเป็นไปด้วยความยุติธรรม
- เพื่อให้ผู้บริหารใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้น และสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน
- เพื่อให้องค์กรมีบุคลากรที่มีคุณภาพมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสามารถแข่งขันได้ในทุกสถานการณ์
เนื้อหาวิชา(Course outline)
- แนวคิดและหลักการKPI
- การตั้ง KPI ให้เหมาะสมกับยุทธศาสตร์องค์กร
- ผลงาน กับ ความสามารถ (Performance vs competence) การกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ของแต่ละปัจจัย
- ความหมายการประเมินผลงาน
- การนำKPIไปประยุกต์เพื่อจัดทำแผนตั้งต้นการปรับปรุงกระบวนการทำงาน
- ปัญหาและสาเหตุ KPI ไม่บรรลุเป้าหมาย
- การติดตามผลการปฏิบัติงานระหว่างปี /ปลายปี
- หลักการประเมินผล และแจ้งผลการปฏิบัติงาน
- ความสำคัญและประโยชน์ของติดตามผลการปฏิบัติงานระหว่างปี
- การประเมินผลงาน (Performance Approsal), การประเมินผ่านทดลองงาน (Probation) และ การบริหารผลงาน (Performance management)
- การกำหนดปัจจัยประเมินผลงาน
- การกำหนดความสามารถ และมาตรฐาน ตาม การกำหนดหน้าที่งาน/ลักษณะงาน
- การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของการผ่านทดลองงานของตำแหน่งระดับปฏิบัติการและผู้บังคับบัญชา
- กรอบการประเมิน KPI 4มิติ
- การออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมินผล
- ออกแบบข้อสอบวัดทักษะการเรียนรู้ (Skill Evaluation)และทักษะการทำงาน
-การสัมภาษณ์รายบุคคลและกลุ่ม (Interview)
-การสอบ (Examination)
– การประชุมกลุ่ม (Group Discussion)
– การสังเกตการณ์ในพื้นที่ (On-site Observation)
– การเป็นสายลับ (Mystery Call / Shopper)
15. ขั้นตอนการติดตามผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
16. ฝึกปฏิบัติการออกแบบเครื่องมือต่างๆ สำหรับการประเมินผลงาน
- เทคนิคการให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อพัฒนาผลงาน และการสื่อสารเพื่อให้ Feedback ในการประเมินผลงาน
- แนวทางการนำผลปฏิบัติงานไปจ่ายผลตอบแทน
- ตัวอย่าง KPI และแบบประเมินผลงาน
WorkShop
- ฝึกปฏิบัติออกแบบประเมินผลงานโดยกำหนดปัจจัยประเมินผลงานและ KPI ของแต่ละหน่วยงาน และตำแหน่งงาน
ระยะเวลาฝึกอบรม
1 วัน
สถานที่ฝึกอบรม
ลูกค้าเป็นผู้ดำเนินการ
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้าแผนก
- ผู้จัดการฝ่าย
- ฝ่ายบุคคล
การประเมินผล
- ประเมินผลทันทีหลังเสร็จฝึกอบรม (ตามแบบประเมินผลของบริษัทลูกค้า ไม่มีค่าใช้จ่าย)
- การติดตามผล (ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ว่าจ้าง) ติดตามผลหลังฝึกอบรม 1 หรือ 3 เดือน หลังฝึกอบรมเสร็จ (ในส่วนนี้มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ……….. บาท /วัน) เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจ และการนำเครื่องมือตามหัวข้อฝึกอบรมไปใช้สำหรับหัวหน้างานแต่ละคน โดยผู้รับจ้างเข้าไปประเมินในบริษัทของผู้ว่าจ้าง และผู้รับจ้างจัดทำเป็นรายงานสรุป เพื่อให้บริษัทผู้ว่าจ้างนำไปใช้ในการบริหารและพัฒนาหัวหน้างานต่อไป ตลอดถึงเพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างผู้ประเมินกับผู้ถูกประเมินภายในองค์กรด้วยกัน
แนวทางการสอนและรูปแบบการเรียนรู้
ทฤษฎี 40% : ปฏิบัติ 60% บรรยาย : ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม
- กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด : ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”
- กิจกรรมเดี่ยว : ใช้ทฤกษฎีและกิจกรรมทางจิตวิทยาทำให้ผู้เข้าอบรมได้ “ค้นพบตนเอง”
- ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ : เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” ยิ่งขึ้น
- การเสวนาตีความ : ฝึกวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้
- การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่และการฝึกประสบการณ์ (Adult Learning & Experiential Learning) ด้วยวิธีการ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
- เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้มุมมองหลักคิดผ่านกรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

Ready to join our knowledge castle?
Find the right program for your organization and achieve your goals today